หนามโกทา รักษาฟัน

ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมการจัดการแหล่งทรัพยากรนั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และยังไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ถ้าปราศจากสำนึกและความร่วมมือของคนในชุมชน ในการเพาะขยายพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่นำเสนอนี้ ได้รับความรู้จากหมอพื้นบ้านกลุ่มสมุนไพรบ้านเชียงเหียน จ.มหาสารคาม ซึ่งยังคงใช้วิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีดั้งเดิมคือการเพาะเมล็ดนั่นเอง

ชื่อท้องถิ่น หนามโกทา
ชื่อสามัญ โกทา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Harrisonia perforata Merr. Lour.

ลักษณะทั่วไป
ไม้รอเลื้อยมีความสูงถึง 5 เมตร กิ่งมักมีหนามแบบโค้งคล้ายหนามกุหลาบ หนึ่งคู่ทีโคนก้านใบ ใบเป็นใบประกอบรูปขนนก ปลายคี่ ออกสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามกันยกเว้น ใบย่อยที่ปลายก้าน ก้านใบมีครีบตามยาวทั้งสองด้าน แผ่นใบย่อยรูปรี ถึงรูปไข่ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 2-3 ซม. ปลายทู่ถึงปลายแหลม โคนใบสอบ ขอบใบหยัก ผิวใบเกลี้ยง ดอกเล็กสีม่วง ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบและปลายกิ่ง ผลค่อนข้างกลม มักมีสี่พู สุกมีสีเหลืองมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-1.5 ซม. เกิดตามป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งถึงป่าดงดิบ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

แหล่งที่พบ ป่าเต็งรัง

การใช้ประโยชน์
ราก แก้ไข้เหนือ ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้ตักศิลา แก้ไข้เส้น กระทุ้งพิษไข้หัว แก้ไข้ทุกชนิด
ทั้งต้น แก้ไข้ทุกชนิด แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้บิด แก้ท้องเสีย
กิ่งก้าน ใช้สีฟัน รักษาฟัน

การขยายพันธุ์
1. เก็บผลโกทาที่สุกและแก่เต็มที่จะมีลักษณะผลสีเหลือง ผลสุกเมื่อผลจะมีลักษณะอ่อนนุ่ม เมล็ดมีขนาดเล็กเท่าหัวไม้ขีดไฟ เมื่อผลสุกเต็มที่เมล็ดมีสีน้ำตาล 1 ผล จะมีเมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด
2. นำเมล็ดที่ได้นำมาล้างน้ำให้สะอาดและนำมาตากแดดให้แห้งประมาณ 2-3 แดด
3. เตรียมกระบะเพาะด้วยไม้ทำคอกไม้สี่เหลี่ยม ภายในกระบะเพาะประกอบวัสดุเพาะในส่วนผสมของแกลบสุก ดินร่วนปนทราย ขุยมะพร้าว เศษซากใบไม้ที่เน่าเปื่อยได้ง่ายนำมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน
4. นำเมล็ดโกทาที่ตากแห้งแล้วนำมาหว่านบนวัสดุเพาะภายในกระบะเพาะและนำเศษซากใบไม้แห้งสับเป็นชิ้นเล็กๆนำมาคลุมทับเมล็ดโกทาบางๆอีกครั้งหนึ่ง
5. รดน้ำทุกครั้งที่สังเกตเห็นว่าวัสดุเพาะแห้งไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวันเพาะจะทำให้เมล็ดเน่า
6. สถานที่ในการเตรียมกระบะเพาะชำกล้าไม้จะต้องเป็นที่ร่มรำไร ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30-45 วัน เมล็ดก็จะเริ่มงอก
7.เมื่อต้นกล้ามีการเจริญเติบโตมีความสูงของลำต้นประมาณ 5 เซนติเมตรมีใบจริง 2-3 ใบ ให้ทำการย้ายต้นกล้าใส่ถุงเพาะชำ รดน้ำบำรุงรักษาจนกว่าต้นกล้าจะเจริญเติบโตแข็งแรงและนำไปเพาะปลูกต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม การใช้ต้นหนามโกทาทำแปรงสีฟัน ช่วยรักษาฟัน ขัดฟันขาว
คลิก..https://www.thaihof.org/main/article/detail/2780

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ 2537
สงวนลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ ถ่ายสำเนา หรือคัดลอกข้อความ หรือรูปที่ปรากฏในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดในเอกสารนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมูลนิธิสุขภาพไทย เป็นลายลักษณ์อักษร

บทความที่เกี่ยวข้อง

พะยอม หอมกรุ่นในพงไพร

admin 3 มกราคม 2019

การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในการรักษาควา […]