ห้ามยาสัตว์ 8 ชนิดตกค้างในอาหาร

เจนีวา-สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า คณะกรรมการมาตรฐานอาหารโลก ที่มักเรียกสั้นๆว่า โคเด็กซ์ ได้ออกข้อเสนอแนะระหว่างการประชุมประจำปีที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า จะต้องไม่มียาสำหรับสัตว์ 8 ชนิด ได้แก่ คลอราเฟนิคอล มาลาไคต์กรีน คาร์บาด็อกซ์ ฟราโดลีโดน ไนโตรฟูรัล คลอโพรมาซีน ซติลเบเนส และโอลาควินด็อกซ์ ในเนื้อสัตว์ ไข่ นมหรือน้ำผึ้ง

การตัดสินใจของโคเด็กซ์ ซึ่งมีสมาชิก 186 ประเทศ ดำเนินงานโดยองค์การอนามัยโลกและองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ แม้บ่อยครั้งเป็นเรื่องซับซ้อนแต่มีผลจริงในทางปฏิบัติ

แองเจลิกา ทริตสเชอร์ ผู้ประสานงานความปลอดภัยอาหารของสหประชาชาติ กล่าววว่า หลักการพื้นฐานที่ว่า ไม่ควรมียาสัตว์ 8 ชนิดในอาหาร ถือเป็นก้าวที่สำคัญอย่างยิ่ง แต่ข้อเสนอแนะเหล่านี้ จะต้องออกมาเป็นกฎหมายระดับประเทศ และประเทศสมาชิก จะต้องควบคุม และอาจต้องสั่งเก็บออกจากตลาดในกรณีจำเป็น

กลุ่มยาเป้าหมายนี้ รวมถึงยาปฏิชีวนะในสัตว์ การตกค้างในอาหารจะยิ่งเพิ่มความวิตกว่า ผู้คนใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด ทำให้ปัญหาแบคทีเรียดื้อยาหรือซูปเปอร์บั๊ก ทวีความรุนแรง

สำหรับนมผงเด็ก คณะกรรมการฯ ได้ตั้งเป้าลดสารตะกั่ว ที่เกิดจากการปนเปื้อนในสภาพแวดล้อม เช่น ระหว่างกระบวนการผลิต จากที่เคยกำหนดไว้ที่ 0.02 มิลลิกรัมต่อนมผงหนึ่งกิโลกรัม ให้ลดเหลือ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

ทริตสเชอร์ กล่าวว่า ตะกั่วส่งผลกระทบต่อพัฒนาสมองของทารก จากนี้ไปจะขึ้นอยู่กับผู้ผลิตที่จะต้องซื้อวัสดุสะอาดที่สุดสำหรับการผลิตนมผง เพื่อให้บรรลุตามเกณฑ์ใหม่

คณะกรรมการยังกำหนดมาตรฐานสารฟูโมนิซินในข้าวโพดที่จะต้องไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อข้าวโพดดิบหนึ่งกิโลกรัมและไม่เกิน 2 กรัมต่อแป้งข้าวโพด 1 กิโลกรัม

เป็นครั้งแรกที่โคเด็กซ์กำหนดมาตรฐานของฟูโมนิซิน ซึ่งเกิดจากเชื้อราเติบโตในข้าวโพดในไร่หรือหลังจากเก็บเกี่ยว โดยเฉพาะจากความชื้น การจัดเก็บไม่เหมาะสมและแมลง สารพิษกลุ่มนี้อาจมีแผลทำลายตับหรือไต หรืออาจก่อมะเร็งได้

ทั้งนี้ ข้าวโพดเป็นอาหารหลักในหลายประเทศ การกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำการปนเปื้อน จึงมีความสำคัญมากต่อสุขภาพมนุษย์

ที่มา : คม ชัด ลึก 18 ก.ค.2557

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผักผลไม้มากกว่าครึ่ง! มีสารกำจัดวัชพืชตกค้างเกินค่ามาตรฐาน

admin 6 เมษายน 2019

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีจ […]

เผยผลการตรวจสอบสารพิษตกค้างผักผลไม้ ประจำปี 2559

admin 6 เมษายน 2019

วันนี้ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) […]

สารเคมีตกค้างในพริกสูงสุด ไทยแพนจี้ ก.เกษตรฯ ปฏิรูปตรา Q

admin 6 เมษายน 2019

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2559 ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ […]