ไทยแพ้ยาผิวหนังอันดับ 2 ของโลก

นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำรวจพบปัญหาผื่นแพ้รุนแรงจากการแพ้ขาชนิดที่ที่มีการหลุดลอกของผิวหนัง หรือ Stevens-Johnson Syndrome / Toxic Epidermal necrolysis ในประเทศไทยสูงเป็นอันดับสองของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ทำให้การศึกษาวิจัยทางเภสัชพันธุศาสตร์เป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีโครงการความร่วมมือกับ Center for Intergrative Medical Sciences สถาบัน RIKEN ประเทศญี่ปุ่น ในการทำวิจัยเภสัชพันธุศาสตร์ โดยดำเนินการร่วมวิจัยตั้งแต่ปี 2549 ความร่วมมือในระยะที่ 3 จะสิ้นสุดในปี 2561

นพ.อภิชัย กล่าวอีกว่า ศูนย์เฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. และนักวิจัยจากสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยต่างๆ จึงมีนโยบายสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาเครือข่ายการศึกษาทางเภสัชพันธุศาสตร์เพื่อการลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ โดยการใช้ยาเฉพาะบุคคลระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ 2557-2559 ทั้งนี้ สรุปผลการดำเนินการโครงการระยะที่ 1 พบปัจจัยเสี่ยงทางพันธุกรรมสำหรับผู้ป่วยที่แพ้ยาต้านจุลชีพ Cotrimoxazole ยากันชัก Phenobarbital และแนวทางการพัฒนาเทคนิควิธีการตรวจยีนเสี่ยงที่ได้จากผลจากการศึกษา ให้มีวิธีการตรวจที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของห้องปฏิบัติการในประเทศไทย เพื่อนำผลการวิจัยมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“ปัจจุบันมีการศึกษาด้านเภสัชพันธุศาสตร์เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากช่วยเหลือให้ผู้ป่วยได้รับยาที่มีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพสูง มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อย ซึ่งการจัดยาตามลักษณะพันธุกรรม (tailor made medicine) กำลังกลายเป็นส่วนหนึ่งของเวชปฏิบัติ ในประเทศยุโรปและสหรัฐอเมริกามีการศึกษาวิจัยเรื่องพันธุศาสตร์มานานแล้ว แต่ข้อมูลการศึกษาดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้กับคนไทยโดยตรง เพราะประชากรอาเซียน รวมถึงประชากรไทย มีลักษณะพันธุกรรมที่จำเพาะ และมีปัญหาจากการใช้ยาที่แตกต่างกัน จึงต้องมีการศึกษาลักษณะพันธุกรรมของคนไทย และจำเป็นต้องมีการพัฒนาเครือข่ายการวิจัยทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์ในประเทศไทย เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงของการเกิดผื่นแพ้ยาและผลข้างเคียงอื่นๆ ของยาที่พบได้บ่อยในประเทศไทย เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการ การตรวจหาลักษณะพันธุกรรมในยีนที่มีความสำคัญทางคลินิกประเทศไทย” นพ.อภิชัยกล่าว

ที่มา : คมชัดลึก 18 ก.พ.57

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาอาบแก้โรคผิวหนัง(จากน้ำเหลืองเสีย)

admin 6 มกราคม 2019

ภูมิประเทศของบ้านเมืองเราอยู่ในโซนใกล้เส้นศูนย์สูตร ดัง […]

น้ำบัวบก

admin 6 มกราคม 2019

ส่วนผสม 1.ใบบัวบก 2 ถ้วย 2.น้ำสะอาด 2 ถ้วย 3.น้ำเชื่อม […]

กำจัดสิวเสี้ยนด้วยแตงกวา

admin 6 มกราคม 2019

มีพืชผักผลไม้หลายชนิดที่ออกฤทธิ์ในการบำรุงผิวหน้าได้ดี […]