เป็นอาสาสมัครในสถานสงเคราะห์ได้อย่างไร

งานอาสาสมัครเป็นงานที่ใครๆก็สามารถทำได้ มาด้วยใจและกายที่พร้อม พร้อมในเรื่องเวลา พร้อมด้านจิตใจคือมีพื้นฐานรักเด็ก อยู่กับเด็กได้เป็นเวลานาน ใส่ใจปัญหาของเด็ก ด้วยตระหนักว่าเด็กคือความหวังของสังคม และถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ใหญ่ที่จะต้องให้การช่วยเหลือคุ้มครองเด็ก

แม้ว่าเด็กในสถานสงเคราะห์จะมาจากที่แตกต่างกันแต่ประสบการณ์ที่เด็กในสถานสงเคราะห์ทุกคนมีร่วมกัน คือ การพลัดพราก แยกจากครอบครัว การเปลี่ยนแปลงที่กินอยู่หลับนอนบ่อยครั้ง แต่ละครั้งทำให้เด็กเกิดความไม่มั่นใจ ไม่ปลอดภัย เศร้า ฯลฯ ซึ่งทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะปรับเพื่อตัวเอาตัวรอดตามสัญชาตญาณ และเด็กจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามอายุ ปัจจัยทางกายภาพและประสบการณ์เดิม ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้เลี้ยงดูสนใจ ถ้าเด็กได้รับการตอบสนองจากผู้เลี้ยงดูแลหน้าใหม่อย่างเหมาะสม สม่ำเสมอ พึ่งพิงได้ เด็กก็จะสบายกายสบายใจและให้ความไว้วางใจกับผู้เลี้ยงดูคนนั้น การได้มีอาสาสมัครได้คอยมาเป็นเพื่อนพี่หรือน้าอา แม้แต่ปู่ย่าตายาย ช่วยสร้างสายสัมพันธ์ ให้คำแนะนำ คอยช่วยเหลือด้านต่างๆ

อาสาสมัคร มาด้วยการแบ่งปันเวลา และจิตใจที่เต็มเปี่ยมด้วยความรักความปรารถนาดี ที่จะสนับสนุนเด็กๆให้เขาเหล่านี้เติบโตอย่างมีคุณภาพ โดยไม่มีค่าตอบแทนใดๆ

คุณสมบัติของอาสาสมัครในสถานสงเคราะห์และสถานคุ้มครองฯ
1. สามารถร่วมกิจกรรมกับเด็กอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง โดยมาต่อเนื่องสม่ำเสมอ 4 หรือ 6 เดือน (16 ครั้ง หรือ 24 ครั้ง)
2. มีความอดทน แบ่งปันความรักให้กับเด็ก
3. ยอมรับในเงื่อนไข ข้อตกลงร่วมกัน กติกาของโครงการ เช่น อาสาไม่สามารถเลือกเด็กที่ดูแลเองได้ การจับคู่พี่อาสากับเด็กนั้นจะมีกระบวนการตามการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ และอาสาจะได้ดูแลเด็กคนเดิมทุกครั้งจนครบตามระยะเวลาของโครงการ
4. มีใจเปิดกว้าง มีทัศนคติที่ต่อการอยู่ร่วมกัน พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่แตกต่าง และปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ
5. เป็นผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก
6.อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี

การเป็นอาสาสมัคร มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
(1)กรอกข้อมูลใบสมัคร พร้อมสำเนาบัตรประชาชน 2 ใบ รูปถ่าย 2 ใบ
(2)ใบรับรองแพทย์
(3)การสัมภาษณ์หรือพูดคุยระหว่างเจ้าหน้าที่และอาสา
(4)เข้าร่วมปฐมนิเทศอาสาสมัคร เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการดูแลเด็ก และข้อปฏิบัติในการเป็นอาสาสมัค
(5)เริ่มปฏิบัติงานอาสาสมัคร ตามวัน เวลา ที่ได้เลือกไว้
(6)จะมีการพูดคุยซักถามหลังจากอาสาสมัครส่งเด็กกลับอาคารพัก ในสิ่งที่อาสาสมัครพบเห็นระหว่างดูแลเด็ก
(7)ประชุมสรุปบทเรียนการทำหน้าที่อาสาสมัครทุก 1-2 เดือน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เติมเต็มความสุขด้วยการให้

admin 10 กันยายน 2019

บางครั้งชีวิตที่ดูเหมือนจะสมบูรณ์พร้อม แท้จริงอาจยังมีบ […]

ปาฐกถาธรรม “คนอาสา สร้างสุขให้ตนเองและสังคมได้อย่างไร”

admin 26 สิงหาคม 2019

การปาฐกถาธรรม โดย พระไพศาล วิสาโล ในงานวันคนอาสาสร้างสุ […]

คำให้การ คนงานอาสา (2548-2558)

admin 19 มิถุนายน 2019

วันเวลาได้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ปี 2548 กิจกรรม “อาสานวดเด็ก : สัมผัสกาย สัมผัสรัก”