คาโมไมล์ กลิ่นหอมสบาย สร้างรายได้กลุ่มเปราะบาง

คาโมไมล์ ไม่ใช่พืชท้องถิ่นไทยแต่ก็ไม่ใช่พืชหรือสิ่งมีชีวิตจำพวก “เอเลี่ยน” ที่มาคุกคามธรรมชาติบ้านเรา จากถิ่นกำเนิดในยุโรปตะวันตกซึ่งมีประวัติการใช้มายาวนานนับพันปีย้อนไปในยุคอียิปต์โบราณ กรีกและโรมัน ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาหรือในศตวรรษที่ 20 ชาคาโมไมล์รับความนิยมอย่างมากในโลกตะวันตกแทบจะทุกครัวเรือนมีชาชนิดนี้ไว้ดื่มยามเย็นเป็นประจำ กลิ่นหอม รสชาติ และสรรพคุณช่วยผ่อนคลายตามธรรมชาตินี้เองที่ช่วยนำพาคาโมไมล์กระจายไปในที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

ปัจจุบันในไทยมีการปลูกกันมากในภาคเหนือเพราะสภาพแวดล้อมเป็นที่สูงและมีอากาศเย็น ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์เช่นนี้คาโมไมล์กำลังผลิดอกเล็ก ๆ สวยงาม ดอกสีขาวมีเกสรตรงกลางสีเหลือง ลักษณะดอกคล้ายดอกเก๊กฮวยแต่ไม่ใช่ต้นเก๊กฮวย คาโมไมล์มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Chamaemelum nobile (L.) All. เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Asteraceae หรือคนไทยเรียกว่า วงศ์ทานตะวัน ซึ่งมีความหลากหลายมากมายกว่า 23,000 สปีชีส์ และยังแบ่งเป็นวงศ์ย่อยถึง 12 วงศ์ย่อย

หลายคนเคยเห็นหรือลิ้มรสอร่อยแต่เพียงดอกคาโมไมล์ แต่ถ้าได้เห็นลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของทั้งต้นและดอกที่บานสะพรั่งเต็มต้นแล้วจะนึกรักในความสวยงามน่ารักของดอกน้อย ๆ ที่ให้ความรู้สึกสดชื่นและสดใส เรียกรอยยิ้มและความสุขได้แน่นอน ลำต้นคาโมไมล์สูงประมาณ 1 ฟุต หรือ 20-40 เซนติเมตรเท่านั้น ทุกส่วนของต้นมีกลิ่นหอม ใบมีขอบหยักลึกสุดแบบขนนก เป็นเส้นฝอย ใบสีเขียวสด หลังใบมีขนสีเงิน ดอกออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ดอกชั้นเดียว ประมาณ 1.5 เซนติเมตร กลีบดอกวงนอกสีขาวรูปขนาน ปลายมน กลีบดอกวงในเป็นหลอด สีเหลือง กระจุกนูนอยู่กลางดอก ดอกมีกลิ่นหอม

คาโมไมล์มีจุดเด่นที่กลิ่นหอม รสชาติอร่อยและสรรพคุณสมุนไพรทำให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก และเป็นไม้ดอกพืชสมุนไพรที่ปลูกง่าย ทนทานต่อสภาพอากาศ เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทรายใส่ปุ๋ยอินทรียวัตถุให้พอเหมาะ ปลูกในที่แสงแดดจัด จะลงแปลงหรือปลูกในกระถางก็โตได้งาม

เหตุที่ปลูกง่ายและมีความต้องของผู้บริโภค คาโมไมล์จึงเป็นสมุนไพรชนิดหนี่งที่ตอบโจทย์การพัฒนาคุณภาพชีวิตส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ ช่วยเพิ่มการมีงานทำและเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเปราะบาง โดยที่เทศบาลตำบลพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย มีคณะกรรมการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นดานสุขภาพที่รวมกลุ่มบุคลากรต่าง ๆ ในพื้นที่ทั้งด้านสาธารณสุข ท้องถิ่น พระ หมอพื้นบ้าน แพทย์แผนไทย อสม. ฯลฯ เป็นกลไกดูและสุขภาวะกาย ใจ สังคมและเศรษฐกิจ ช่วยกันสำรวจพบว่า เทศบาลพญาเม็งรายเป็นสังคมสูงอายุ 100% มีประชากรสูงอายุมากถึง 949 คน คิดเป็นร้อยละ 23.07 ของประชากรทั้งหมด และในกลุ่มผู้สูงอายุนี้ยังพบว่าเป็นคนพิการทุกประเภท จำนวน 171 คน และมีผู้สูงอายุ แม่บ้านที่ยังทำงานได้แต่ไม่มีงานทำจำนวนมาก

พื้นที่เทศบาลตำบลพญาเม็งรายมีต้นทุนการทำงานด้านสมุนไพร มีเครือข่ายที่พร้อม จึงใช้พื้นที่วัดดอยม่อนป่ายาง ซึ่งตั้งอยู่บนเนินเขาบรรยากาศดีและสวยงาม จึงปักหมุดให้เป็นพื้นกลางจัดกิจกรรมพัฒนาอาชีพ พัฒนาเป็นศูนย์จำหน่ายและบริการผลิตเพื่อสุขภาพ และแน่นอนจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต ด้วยแนวการทำงานสร้างคุณค่าจากภูมิปัญญาสมุนไพร ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชน ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกช่วงวัย และพัฒนาอาชีพสร้างรายได้ ให้กับกลุ่มเปราะบางสูงอายุ คนพิการ แม่บ้าน ผู้ด้อยโอกาส จำนวนเริ่มต้น 60 ราย มาช่วยกับปรับพื้นที่และลงมือปลูก ช่วยกันรดน้ำดูแลต้นคาโมไมล์ที่บริเวณวัดดอยม่อนป่ายาง และสนามหน้าที่ทำการเทศบาลตำบลพญาเม็งราย ตั้งแต่ปลายพฤศจิกายนปีกลายเริ่มปลูกจนปลายมกราคม 2568 เริ่มเก็บเกี่ยวดอกคาโมไมล์ได้แล้ว และกำลังแปรรูปเป็นชาซองจำหน่าย

เมื่อต้นกุมภาพันธ์การประชุมคณะกรรมการภูมิปัญญาฯ ที่เทศบาลตำบลพญาเม็งรายสร้างวัฒนธรรมใหม่เสิร์ฟชาคาโมไมล์อุ่น ๆ กลิ่นหอมแทนน้ำชากาแฟทั่วไป ชาดอกคาโมไมล์มีรสหวานน้อย ๆ ตามธรรมชาติแต่ถ้าแช่ดอกและก้านเล็ก ๆ ไว้นานจะมีรสขมเพิ่มขึ้นแต่ก็ไม่ขมเท่าชาเขียว ชาดำ ชาคาโมไมล์มีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงโรค มีสรรพคุณเด่นช่วยผ่อนคลาย ช่วยให้จิตใจสงบลดความวิตกกังวล เมื่อจิบชาคาโมไมล์ไปพร้อมกับประชุมที่เคร่งเครียดก็น่าช่วยให้บรรยากาศและความร่วมมือในที่ประชุมสำเร็จออกมาได้ดี ชาคาโมไมล์ยังช่วยส่งเสริมให้นอนหลับสบาย ถ้าชงชาอุ่น ๆ ดื่ม ในช่วงเย็นหรือค่ำก็ได้ จะแต่งรสหวานก็แนะนำให้เติมน้ำผึ้งเล็กน้อย ได้ชารสชาดีเช่นกัน

วัฒนธรรมชาคาโมไมล์เริ่มต้นทางยุโรปจึงมีการพัฒนาสูตรทั้งเครื่องดื่มร้อนและเย็นหลายเมนู ที่ง่ายและน่าจะเข้ากับรสชาติคนไทยก็ลองแต่งน้ำผึ้งและมะนาวในชาคาโมไมล์ให้รสผสผสานที่ดี หรือส่งท้ายลมหนาวใส่ขิงฝานชิ้นเล็กเพิ่มรสเผ็ดให้ความอุ่นก็ได้ หรือสูตรนี้ใช้ดื่มในห้องประชุมแอร์เย็น ๆ ก็ดีไม่น้อย ในฤดูร้อนที่กำลังมาเยือน ดอกแห้งที่เก็บไว้วันนี้ก็นำมาทำชาเย็นคาโมไมล์ได้ เพียงชงชาด้วยน้ำเดือดตามปกติแต่ให้เข้มข้น แต่งน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อม เทใส่แก้วน้ำแข็งดื่มได้ชื่นใจและได้กลิ่มหอมสบายเติมน้ำเชื่อม เพื่อเพิ่มความหวานให้กับชาเย็น หรือจะแปลกออกไปนิดใช้สมุนไพรอื่นมาประกอบ ตั้งชื่อได้ว่า ชาเย็นขิงคาโมมายล์ ต้มน้ำกับดอกคาโมไมล์ให้เข้มข้น แล้วใส่ขิงสด 1- 2 ชิ้น ปิดฝาทิ้งไว้ให้เย็น เติมน้ำผึ้งและบีบมะนาวลงไป ชิมรสที่ต้องการ ใส่น้ำแข็งดื่มรับลมร้อนได้เช่นกัน

ชาสมุนไพรคาโมไมล์มีความปลอดภัยแต่ก็มีข้อแนะนำสำหรับสตรีตั้งครรภ์ไม่ควรดื่มเพราะอาจส่งผลต่อการบีบรัดตัวของมดลูก และบางท่านที่แพ้เกสรดอกไม้ก็ควรระมัดระวังในการดื่มชาด้วย การใช้ประโยชน์คาโมไมล์ยังมีอีกมากในรูปน้ำมันหอมระเหยและการใช้ในเครื่องสำอาง

เพียงกลุ่มเปราะบางเริ่มต้นจากดอกสดตากแห้งแปรรูปผลิตภัณฑ์และพัฒนาแหล่งปลูกพืชสมุนไพรเป็นจุดเช็คอิน ช่วยสร้างการเรียนรู้เพื่อการมีงานทำ (Learn to Earn) และใช้ภูมิปัญญาสมุนไพรสู่การมีรายได้เพิ่ม (Herb to Earn) ให้ชุมชน.

https://www.thefest.com/Images/acetoto888/ https://www.thefest.com/Images/acegaming888/ https://www.thefest.com/Images/plazaslot/
slot thailand