คัดเค้า เป็นทั้งยา และไม้ประดับ

ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมการจัดการแหล่งทรัพยากรนั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และยังไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ถ้าปราศจากสำนึกและความร่วมมือของคนในชุมชน เพราะการหวังพึ่งคนนอกหรือหน่วยงานต่างๆจากภายนอกเพียงอย่างเดียวนั้น จะช่วยในการทำงานในระยะเริ่มต้น แต่การทำงานอย่างต่อเนื่องจนบรรลุผลนั้น จำเป็นต้องอาศัยพลังของคนในชุมชนจึงจะสามารถรักษาและพัฒนาแหล่งทรัพยากรไว้ให้คนรุ่นต่อไปได้อย่างยั่งยืน

ชื่อท้องถิ่น คัดเค้า คัดเข้า คันเคล้า
ชื่อสามัญ คัดเค้าเครือ
ชื่ออื่น ๆ เครือหนามคัดเค้า หนามคัดเค้า คันเถ้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyceros horridus Lour.
ชื่อวงศ์ RUBIACEAE

ลักษณะทั่วไป
ไม้พุ่มที่เลื้อยทอดลำต้นเกาะเกี่ยวขึ้นไป บริเวณข้อมีหนามโค้งแหลมเกิด เป็นคู่อยู่ตรงกันข้าม ใบเป็นใบเดี่ยว เกิดเรียงกันแบบตรงข้าม รูปใบกลมรีแกม ขอบขนาน ขนาดกว้าง 4-6 เซนติเมตร ยาว 6-12 เซนติเมตร ดอกช่อ แบบช่อกระจุกเชิงหลั่นบริเวณซอกใบ กลีบเลี้ยงเป็นถ้วยคล้ายลูกข่างรี ส่วนปลายแยกเป็น 5 หยัก กลีบดอก 5 กลีบ เมื่อแรกบานสีขาวแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดสลับอยู่ระหว่างกลีบดอก ผลทรงกลม ฉ่ำน้ำ

อายุการเก็บเกี่ยว
ราก คัดเค้าเมื่ออายุ 6 – 8 ปีขึ้นไปจึงนำรากมาทำยา

การใช้ประโยชน์
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ในทางเภสัชใช้ส่วนรากแก้ไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน ผล บำรุงโลหิต ขับฟอกโลหิต ระดูเสีย หนามแก้พิษฝีไข้ต่างๆ

การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ขั้นตอนการขยายพันธุ์
คัดเค้าเมื่อผลสุกและแก่เต็มที่ ผลจะมีทรงกลมสีดำ เปลือกหุ้มเมล็ดจะบาง ทำการเก็บผลสุกของคัดเค้ามาทำการขยี้ผลใส่ผ้าบางให้เหลือเฉพาะเมล็ด นำเมล็ดมาตากแดดให้แห้งประมาณ 2-3 แดด หลังจากนั้นให้นำเมล็ดมาห่อใส่ผ้าเศษที่ดูดความชื้นได้ดี ห่อเมล็ดรดน้ำให้ชุ่มวางไว้บริเวณร่มรำไร หมั่นดูแลรักษารดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอประมาณ 5-7 วันเมล็ดก็จะเริ่มงอก ให้คัดแยกเมล็ดในส่วนที่งอกนำมาหยอดใส่ถุงเพาะชำ รดน้ำบำรุงรักษาต้นกล้าเมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตความสูงประมาณ 20 เซนติเมตรก็สามารถย้ายปลูกได้

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ 2537
สงวนลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ ถ่ายสำเนา หรือคัดลอกข้อความ หรือรูปที่ปรากฏในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดในเอกสารนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมูลนิธิสุขภาพไทย เป็นลายลักษณ์อักษร

บทความที่เกี่ยวข้อง

พะยอม หอมกรุ่นในพงไพร

admin 3 มกราคม 2019

การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในการรักษาควา […]

ต้นเค็ง ผลต้มกินแก้ร้อนใน

admin 3 มกราคม 2019

ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมการจัดการแหล่งทรัพยากรนั […]

กะโดนน้ำ ไม้แก้เบื่อเมา

admin 3 มกราคม 2019

การปลูกป่าสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า เพื่อการอนุรักษ […]