ต้นเค็ง ผลต้มกินแก้ร้อนใน

ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมการจัดการแหล่งทรัพยากรนั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ และยังไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน ถ้าปราศจากสำนึกและความร่วมมือของคนในชุมชน ในการเพาะขยายพันธุ์ไม้พื้นเมืองที่นำเสนอนี้ ได้รับความรู้จากหมอพื้นบ้านกลุ่มสมุนไพรบ้านเชียงเหียน จ.มหาสารคาม ซึ่งยังคงใช้วิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีดั้งเดิมคือการเพาะเมล็ดนั่นเอง

ชื่อท้องถิ่น เค็ง หมากเข้ง แคง แค็ง หมากแข้ง
ชื่อสามัญ เขลง Velvet tamarind
ชื่ออื่นๆ กาหยี นางดำ ยี หยี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dialium cochinchinense Pierre
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE – CAESALPINIOIDEAE

ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น สูง 15-30 เมตร ใบประกอบแบบขนนก ปลายคลี่ เรียงสลับ ใบรูปไข่ถึงรูปรี กว้าง 1.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ปลายทู่ถึงแหลม โคนมนถึงค่อนข้างสอบ ขอบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงหรือมีขนเล็กน้อย ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามปลายกิ่ง ผลกลมรี ผลสุกสีดำ มีเมล็ดเดียว

การใช้ประโยชน์
ผลต้มรับประทานแก้ไข้ร้อนใน ผลสุกรับประทานได้ ปรุงเป็นขนมหวาน ผลอ่อนนำมาต้มรับประทานได้ ยอดอ่อนให้รสเปรี้ยวใช้ประกอบอาหาร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง เปลือกและแก่นย้อมสีให้สีน้ำตาลอมแดง

ขั้นตอนการขยายพันธุ์
1.เก็บผลหมากเค็งที่แก่เต็มที่จะมีลักษณะผลสีดำ ผลจะมีเมล็ดเดียว นำมาแกะเนื้อออกให้เหลือเฉพาะเมล็ด เนื้อหุ้มเมล็ดสามารถนำมารับประทานได้ เมล็ดมีลักษณะกลมรี
2.นำเมล็ดมาล้างน้ำให้สะอาดและตากให้แห้งประมาณ 2-3 แดด
3.เตรียมกระบะเพาะด้วยไม้ทำคอกไม่สี่เหลี่ยม ภายในกระบะเพาะประกอบวัสดุเพาะในส่วนผสมของของแกลบสุก ดินร่วนปนทราย ขุยมะพร้าว เศษซากใบไม้ที่เน่าเปื่อยได้ง่ายนำมาผสมคลุดเคล้าให้เข้ากัน
4.นำเมล็ดหมากเค็งที่ตากแห้งแล้วนำมาหว่านบนวัสดุเพาะภายในกระบะเพาะและนำเศษซากใบไม้แห้งสับเป็นชิ้นเล็กๆ นำมาคลุมทับเมล็ดหมากเค็งบางๆอีกครั้งหนึ่ง
5.รดน้ำทุกครั้งที่สังเกตุเห็นว่าวัสดุเพาะแห้งไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวันเพราะจะทำให้เมล็ดเน่า
6.สถานที่ในการเตรียมกระบะเพาะชำกล้าไม้จะต้องเป็นที่ร่มรำไร ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30-60 วัน เมล็ดก็จะเริ่มงอก
7.เมื่อต้นกล้ามีการเจริญเติบโตมีความสูงของลำต้นประมาณ 5 เซ็นติเมตรมีใบจริง 2-3 ใบ ให้ทำการย้อยต้นกล้าใส่ถุงเพาะชำ รดน้ำบำรุงรักษาจนกว่าต้นกล้าจะเจริญเติบโตแข็งแรง และนำไปเพาะปลูกต่อไป

สงวนลิขสิทธิ์ ตาม พรบ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ 2537
สงวนลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ ถ่ายสำเนา หรือคัดลอกข้อความ หรือรูปที่ปรากฏในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดในเอกสารนี้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมูลนิธิสุขภาพไทย เป็นลายลักษณ์อักษร

บทความที่เกี่ยวข้อง

พะยอม หอมกรุ่นในพงไพร

admin 3 มกราคม 2019

การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในการรักษาควา […]

กะโดนน้ำ ไม้แก้เบื่อเมา

admin 3 มกราคม 2019

การปลูกป่าสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นการปลูกป่า เพื่อการอนุรักษ […]

คัดเค้า เป็นทั้งยา และไม้ประดับ

admin 3 มกราคม 2019

ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและส่งเสริมการจัดการแหล่งทรัพยากรนั […]