การสู่ขวัญ (จบ)

การสู่ขวัญกับหญิงตั้งครรภ์ต้องทำพิธีอะไร อย่างไร …
“แม่มาน” หมายถึง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์  การสู่ขวัญหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้กำลังใจ
โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตั้งท้องครั้งแรกยังไม่มีประสบการณ์อาจจะมีความกลัว วิตกกังวลไปสารพัดทุกๆ เรื่อง…ครอบครัวก็จะจัดพิธีสู่ขวัญ

นิยมทำพิธีสู่ขวัญให้แม่มานหรือหญิงตั้งท้องที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 3 – 6 เดือน ถ้าอายุครรภ์เกิน 6 เดือนไปแล้วเราไม่นิยมทำพิธีสู่ขวัญ
การทำพิธีสู่ขวัญนิยมทำในช่วงกลางวัน จะเริ่มตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าเป็นต้นไปถึง 4 โมงเย็น
ห้ามทำพิธีสู่ขวัญหลัง 4 โมงเย็นไปแล้ว จนถึงเวลา 08.59 น. ของเช้าอีกวัน …
และห้ามหรือไม่นิยมทำพิธีในวันจมหรือวันเดือนดับหรือวันข้างแรม…ข้อห้ามนี้ต้องจำให้ขึ้นใจ

สถานที่ทำพิธีส่วนใหญ่ใช้ห้องโถงของบ้านหรือพื้นที่กว้างในบ้านหรือชานบ้านบนเรือนที่แม่มานอาศัยอยู่
จากนั้นผู้ทำพิธีจะทำพิธีตามขั้นตอน…จากนั้น ทำการผู้ข้อต่อแขนแม่มานเพื่อรับขวัญ ผู้ทำพิธีจะผู้เป็นคนแรก ตามด้วยพ่อ แม่ และญาติผู้ใหญ่

การผูกแขนเป็นการแสดงออกซึ่งความห่วงใย ความรัก ความเอ็นดู
การผูกแขนจะมีคำกล่าวเพื่อเป็นการสอนหรือบอกกล่าวอะไรบางอย่าง ซึ่งเป็นความเชื่อของคนอีสาน
หลังจากทำพิธีผู้ข้อต่อแขนเพื่อรับขวัญแล้ว ให้นำบายศรีหรือพาขวัญไปเก็บไว้บริเวณที่สูง ที่ปลอดภัยไม่ให้คนเดินข้าม เก็บไว้ 3 วันแล้วค่อยนำไปทิ้งได้

ส่วนการสู่ขวัญแม่อยู่กรรมหรือแม่อยู่ไฟ โดยเฉพาะการอยู่ไฟร้อน
การสู่ขวัญไม่นิยมทำพิธีในวันจมหรือวันเดือนดับหรือวันข้างแรม…
ทำพิธีในช่วงกลางวัน จะเริ่มตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าเป็นต้นไปถึงเที่ยงวัน 12.00 น.เท่านั้น ซึ่งจะต่างจากการสู้ขวัญของแม่มาน
สถานที่ทำพิธีจะเป็นห้องที่อยู่ไฟ

สำหรับการสู่ขวัญแม่ลูกอ่อน เพื่อให้กำลังใจแม่ลูกอ่อนในการเลี้ยงลูกต่อไป การดูแลเด็กอ่อนเป็นงานละเอียดอ่อนและเป็นงานหนัก คุณแม่มือใหม่แทบทุกคนจะรู้สึกเป็นกังวลกับการเลี้ยงเด็กทารก

นิยมสู่ขวัญแม่ลูกอ่อนหลังคลอดตั้งแต่ 3 เดือนถึง 1 ปี  ถ้าเกิน 1 ปี ไปแล้วเราจะไม่เรียกว่าเป็นแม่ลูกอ่อน
การทำพิธีสู่ขวัญนิยมทำในช่วงกลางวัน จะเริ่มตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าเป็นต้นไปถึง 6 โมงเย็น
ห้ามทำพิธีสู่ขวัญหลัง 6 โมงเย็นไปแล้ว จนถึงเวลา 08.59 น. ของเช้าอีกวัน …
และห้ามหรือไม่นิยมทำพิธีในวันจมหรือวันเดือนดับหรือวันข้างแรม…
สถานที่ทำพิธีส่วนใหญ่ใช้ห้องโถงของบ้านหรือพื้นที่กว้างในบ้านหรือบ้านเรือนที่แม่ลูกอ่อนอาศัยอยู่

และการสู่ขวัญเด็กเกิดใหม่ทั้งชายและหญิงจะปฏิบัติเหมือนกัน เป็นการรับขวัญเด็กเกิดใหม่ให้มีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรง เมื่อเติบโตขึ้นจะได้เป็นที่รักของทุกคน  เป็นเจ้าคนนายคน มีคนนับหน้าถือตา ร่ำรวยเงินทอง มีบริวารมากมาย
นิยมสู่ขวัญเด็กแรกเกิดอายุตั้งแต่ 1 เดือนถึง 3 เดือน
วันที่ เวลาและสถานที่ทำพิธีใช้ข้อปฏิบัติเดียวกันกับแม่มานหรือหญิงตั้งครรภ์
และห้ามหรือไม่นิยมทำพิธีในวันจมคือวันไม่เป็นมงคลหรือวันเดือนดับหรือวันข้างแรม…ข้อห้ามนี้ต้องจำให้ขึ้นใจ

ในปัจจุบัน การสู่ขวัญให้กับแม่ แม่ลูกอ่อน หรือเด็กแรกเกิดอาจจะไม่ค่อยเห็น อาจจะมีบ้างในต่างจังหวัด
แต่การสู่ขวัญก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเรา ลองนึกดูแล้วจะพบว่า
…เมื่อเราเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ปี 1 รุ่นพี่จะทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ รับขวัญน้องใหม่เข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย เป็นขวัญและกำลังใจในการเรียนและใช้ชีวิต 4 ปีในมหาวิทยาลัย

….เชื่อว่าเกือบทุกคนเคยผ่านการบายศรีสู่ขวัญแล้วแล้ว
และสุขใจทุกครั้งที่นึกถึง ..

 

#มูลนิธิสุขภาพไทย  #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน  #คนท้อง   #สมุนไพรไทย   #อยู่ไฟ   #หมอตำแย  #อยู่ไฟไทบ้าน

#หมอพื้นบ้าน  #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน  #สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ   #สสส.

#อบสมุนไพร  #อยู่ไฟเย็น    #อยู่ไฟร้อน   #การดูแลเด็กอ่อน  #การสู่ขวัญ