ความเป็นแม่…ในสังคมไทย

ประเทศไทยเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาแปดลำดับในดัชนีชี้วัดเกี่ยวกับ ผู้เป็นมารดาขององค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ประจำปีพ.ศ.2558 โดยขึ้นมาอยู่ที่ลำดับ 72 จาก 178 ประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงตามหลังประเทศคู่แข่งในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งรวมถึงประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และจีน

รายงานสถานะมารดาโลก (State of the World’s Mothers) ซึ่งเป็นรายงานประจำปีของหน่วยงานที่ทำงานด้านเด็ก แสดงให้เห็นถึงสิ่ง ที่เป็นความสำเร็จ และความล้มเหลวในการช่วยเหลือ และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมารดาและบุตร โดยในภาพรวม ประเทศฟินแลนด์รั้งอันดับหนึ่ง ของสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับการเป็นมารดาเป็นปี ที่สองติดต่อกัน ส่วนประเทศที่อยู่อันดับสุดท้าย ได้แก่ ปรเทศโซมาเลีย

ในประเทศไทย ภาวะการเสียชีวิตของมารดานั้นได้ลดลงมากกว่าหนึ่งในสาม ภาวะการตายของเด็กลดลงมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ การคาดการณ์จำนวนปี ที่เด็กได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้นจากเดิม 2.5 ปี และ รายได้มวลรวมประชากรเพิ่มขึ้น 265 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา

“ดัชนีนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยทำได้ดีมาก โดยมีการลดลงของภาวะการตายของแม่และเด็ก อีกทั้งการพัฒนาหลายอย่างด้านการศึกษา อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเจตนารมณ์ทางการเมืองที่ เข้มแข็งและความตั้งใจในการลงทุนกับการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุม ซึ่งเป็นหนึ่งในบริการต่างๆ ที่สำคัญต่อเด็ก” อลิสัน เซลโควิทซ์ ผู้อำนวยการองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ประจำประเทศไทย กล่าว

รายงานสถานะมารดาโลกปีนี้มุ่งเน้นเรื่องมารดาที่ตกอยู่ในวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมเพื่อทำความเข้าใจและสามารถตอบสนองต่อความต้องการ ของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากความเปราะบาง ต่อสถานการณ์ความยากจน, การไม่ได้รับอาหาร ที่เป็นประโยชน์เพียงพอ, ความรุนแรงทางเพศ, การตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และการคลอดบุตรโดยปราศจากความช่วยเหลือทางการแพทย์ อันเป็นปัญหา ที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากแล้ว มารดาผู้ตกอยู่ในวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมยังต้องทนทุกข์กับอุปสรรคอื่นๆ เพื่อให้บุตรมีสุขภาพที่ดี

อีกหนึ่งประเด็นที่เป็นข้อวิตกกังวลในประเทศไทยคือ เรื่องอัตราการให้นมบุตรซึ่งอยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งมีเพียง 15 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ทั้งที่เป็นที่ทราบกัน ดีว่านมแม่มีประโยชน์มากมายด้านสารอาหารที่ ครบถ้วน, ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่เด็ก และปกป้องเด็กอาการท้องร่วง, การขาดสารอาหาร และ อาการเจ็บป่วยอื่นๆซึ่งเป็นผลพวงมาจากภาวะ ภัยพิบัติ

“หลังเกิดภัยพิบัติควรให้ความสำคัญกับบริการวางแผนครอบครัวก่อนเป็นลำดับแรก ตอนนี้ ประเทศไทยมีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในเด็กเกิดใหม่ 1,000 คน จะมี 54 คน ที่มาจากแม่วัยรุ่น ทำให้เด็กสาวไปทำแท้งผิดกฎหมายเนื่องจากการท้องไม่พร้อม ซึ่งมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้แม่วัยรุ่นยังมีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตในระหว่างการคลอดบุตรมากกว่าแม่ที่อยู่ในช่วงอายุ 20 ปี ถึงสองเท่า” ผู้อำนวยการองค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) ประจำประเทศไทยกล่าวเสริม

เพื่อปกป้องมารดาและบุตรจากผลพวงของ ภัยพิบัติ องค์การช่วยเหลือเด็ก (Save the Children) จึงเรียกร้องให้ภาครัฐและภาคประชาสังคมปฏิบัติ ดังนี้

– ร่วมมือกันเพื่อให้รับรองว่ามารดาและบุตรที่เกิดใหม่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ รวมถึงบริการวางแผนครอบครัว และ การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้นมบุตร

– สร้างความยืดหยุ่นในระบบสุขภาพเพื่อ ลดผลกระทบจากความเสียหายของวิกฤตการณ์ต่างๆต่อสุขภาพ

– พัฒนาแผนความเตรียมพร้อมทั้งในระดับชาติและท้องถิ่นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการจำเพาะของมารดา, เด็ก และทารกในภาวะฉุกเฉิน

– รับรองการสนับสนุนเงินทุนและการ ประสานงานที่สม่ำเสมอเพื่อตอบสนองความต้อง การของมารดาและเด็กในภาวะฉุกเฉินได้อย่าง ทันท่วงที
ประเทศไทยมีอัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในเด็กเกิดใหม่ 1,000 คน จะมี 54 คน ที่มาจากแม่วัยรุ่น ทาให้เด็กสาวไปทาแท้งผิดกฎหมายเนื่องจากการท้องไม่พร้อม

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ 9 พ.ค.2557

บทความที่เกี่ยวข้อง