เผย10ปีสุขภาพคนไทยดีขึ้นแต่ป่วยทางจิตพุ่ง

โครงการสุขภาพคนไทย โดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยรายงานสุขภาพคนในรอบ 10 ปี ระหว่างปี 2546-2556 พบว่า สุขภาพโดยรวมของคนไทยดีขึ้นเมื่อวัดจากอายุคาดเฉลี่ย โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อายุคาดเฉลี่ยเมื่อแรกเกิดของคนไทยเพิ่มขึ้นถึงกว่า 3 ปี จาก 75เป็น 78.1ปี ในผู็หญิง และ 67.9 เป็น 71.1 ปีในผู้ชายและอายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดีก็เพิ่มขึ้นกว่า 6 ปี เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตามพบว่าคนไทยเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และเบาหวาน ซึ่งมีอัตราผู้ป่วยในสูงถึง 1,187 คน , 936 คน และ 849 คน ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ โรคเหล่านี้มีต้นตอหลักจากพฤติกรรมสุขภาพในด้านต่างๆที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ได้รับการส่งเสริมและป้องกันที่เพียงพอ

ขณะเดียวกันโรคมะเร็งและอุบัติเหตุยังถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิต 2 อันดับแรกของคนไทยที่สามารถป้องกันได่ โดยในปี2554 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งถึง 95 คนต่อประชากรแสนคนเพิ่มขึ้นจาก 79 คน เมื่อปี2546

นอกจากนี้ยังพบว่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาคนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น ทั้งความผิดปกติทางจิตและอารมณ์รวมทั้งอาการเครียดหรือความแปรปรวนทางจิตใจ โดยพบว่ามีจำนวนผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นจาก 138คนต่อประชากรแสนคนในปี 2546 เป็น 218 คนในปี2554

อย่างไรก็ตามอัตราผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอาจกล่าวได้ว่า ด้านหนึ่งเป็นเพราะจำนวนผู้มีปัญหาทางจิตในประเทศเพิ่มสูงขึ้น หรืออีกทางหนึ่งก็อาจเป็นผลมาจากระบบการเฝ้าระวังปัญหาและการบริการสุขภาพจิตมีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการทางสุขจิตได้มากขึ้น รวมทั้งการฆ่าตัวตายสำเร็จของคนไทยมีอัตราที่ลดลง

ขณะที่ดัชนีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยที่สูงขึ้นจากระดับต้องปรับปรุง(63.7)ในปี2546 ใสแจะในระดับปานกลาง (70.3) ในปี 2554 แต่ก็ยังต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงต่อไปให้อยู่ในระดับที่ดีหรือดีมาก โดยเฉพาะในเรื่องครอบครัวและการเมืองของประเทศ ซึ่งดัชนีชี้วัดสะท้อนให้เห็นสถานการณ์ที่แย่ลงกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน นอกจากนี้ยังพบปัญหาเรื่องการกระจายรายได้และความเหลื่อมล้ำทางสังคมในด้านต่างๆ

ด้านหลักประกันทางสุขภาพของประชาชนได้มีการขยายครอบคลุมอย่างต่อเนื่องจากการดำเนินนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปี2544 จนกล่าวได้ว่าปัจจุบัน คนไทยทั้งหมดมีหลักประกันทางสุขภาพที่ช่วยให้เข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นในยามป่วยไข้ และป้องกันภาวะล้มละลายของครัวเรือนจากค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่สูง

อย่างไรก็ตามระหว่างปี 2546-2553 รายจ่ายสุขภาพรวมต่อหัวคนไทย เพิ่มขึ้นกว่า 1.8เท่า จาก3พันกว่าบาท เป็น 6 พันกว่าบาท ซึ่ง 3ใน4 เป็นรายจ่ายสุขภาพจากภาครัฐ โดยสัดส่วนรายจ่ายทางสุขภาพรวมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 3.6% เป็น 3.9%ในปี 2553 ถือว่าอยู่ในระดับไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น

สำหรับการกระจายทรัพยากรสาธารณสุข โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ ที่ดูเหมือนจะมีการกระจายไปสู่ภูมิภาคมากขึ้น แต่จริงๆแล้วยังคงกระจุกตัวอยู่ในเขตเมืองของกรุงเทพฯ และภาคกลางเท่านั้น

ที่มา : โพสต์ทูเดย์ออนไลน์

บทความที่เกี่ยวข้อง