โรคกับหญิงตั้งครรภ์ (1)

ยุคนี้เมื่อตั้งครรภ์จะไปฝากท้องกับหมอและไปตรวจตามนัดเรื่อยๆ
ใครที่ครรภ์มีปัญหาว่าที่คุณแม่และคุณหมอจะวางแผนการรักษา
จะว่าไปแล้ว …มีการวางแผนก่อนตั้งครรภ์ด้วยซ้ำไป เพื่อให้ลูกที่เกิดมาสมบูรณ์ครบ-ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ

ถ้าในพื้นที่ๆ ห่างไกลหมอ เดินทางไปโรงพยาบาลไม่สะดวกล่ะ…จะทำอย่างไร?
หรือในสมัยก่อนมีการเตรียมตัวให้กับว่าที่คุณแม่อย่างไร?

วันนี้แอดมินพาไปรู้จักเรื่องของ “โรค” ที่อาจจะเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์

“โรคที่เกิดขึ้นกับคุณแม่” แบ่งได้ 3 ระยะ ก็คือ ระยะตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และระยะหลังคลอดซึ่งมีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันไปตามอาการของโรค

เรามารู้จักโรคที่พบในระยะตั้งครรภ์กันก่อน
ในช่วงนี้จะเริ่มตั้งแต่ตั้งครรภ์ไปจนถึงคลอด มีระยะเวลา 9 เดือน โรคที่พบบ่อยๆ เช่น โรคบวม โรคฟางหัวลูก โรคอ่อนเพลีย และเป็นไข้

โรคบวม  อาการบวมจะอยู่ในช่วงตั้งครรภ์ เป็นปฏิกิริยาทางธรรมชาติที่มีต่อปริมาณของเหลวในร่างกาย หรือน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ซึ่งว่าที่คุณแม่ต้องแบกรับน้ำหนักไปทุกหนแห่ง

ส่วนใหญ่จะรู้สึกบวมบริเวณข้อเท้าและเท้าหากต้องยืนนานๆ  บางคนบวมตามนิ้วมือจนใส่แหวนไม่ได้ หรือหน้าบวม หรือบวมตัวเนื้อตามตัว มีอาการหนักตามเนื้อตามตัว

อาการบวมส่วนใหญ่จะพบในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 6-9 เดือน

แล้วเราจะรักษาอาการบวมได้อย่างไร?
ทำได้ง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องไปหาหมอเลยคะ
เรากินอาหารและผลไม้บางอย่างก็ช่วยได้ เช่น กระเทียม หัวหอมสด แอปเปิล ควรกิจอาหารรสจืด  งดอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็มและเป็ด ไม่ควรดื่มของมึนเมาและของดอง
พยายามออกกำลังกายเสมอ เช่น การเดิน   ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 6-8 แก้ว กินผักผลไม้ที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ
หากดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อร่างกาย จะทำให้เกิดอาการบวมยิ่งขึ้น
หลีกเลี่ยงการยืนเป็นเวลานาน เวลานอนพักให้นอนโดยพาดเท้าให้สูงกว่าเอวจะช่วยลดอาการบวมได้
หรือนวดเบาๆ แบบผ่อนคลายก็ช่วยลดอาการบวมได้เช่นกัน
เวลานอนควรนอนตะแคงซ้ายเพื่อหลีกเลี่ยงการทิ้งน้ำหนักไปกดทับเส้นเลือดดำใหญ่ที่ชื่อว่า “เวนาคาวา” (vena cava) ซึ่งอยู่ทางด้านขวาของร่างกาย
เมื่อคลอดลูกแล้วอาการบวมจะหายไปเอง…คุณแม่ไม่ต้องกังวลนะคะ

 

#มูลนิธิสุขภาพไทย  #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน  #คนท้อง   #สมุนไพรไทย   #อยู่ไฟ

#หมอตำแย  #อยู่ไฟไทบ้าน  #โรคในคุณแม่ตั้งครรภ์

#หมอพื้นบ้าน  #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน  #สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ   #สสส.