เส้นทาง “การนวดไทย” ยุคสมัยเก่า

• สมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1998)
-มีข้าราชการในกรมหมอนวดขวาและซ้าย

• สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.2230-2231)
-มีบันทึกในจดหมายเหตุของลาบูแบร์ราชทูตฝรั่งเศสว่า “ในกรุงสยามนั้นถ้าใครป่วยไข้ลง ก็จะเริ่มให้ยืดเส้นยืดสาย โดยให้ผู้มีความชำนาญในทางนี้ขึ้นไปแล้วใช้เท้าเหยียบ”

• สมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2335)
-ให้รวบรวมสรรพวิชาจารึกแผนนวด 60 ภาพไว้ที่ผนังวัดโพธิ์และรูปหล่อฤาษีดัดตน 80 ท่า
พร้อมคำโคลง

• สมัยรัชกาลที่ 4
-มีข้าราชการในกรมหมอนวด

• สมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2413)
-ชำระคัมภีร์แพทย์ ซึ่งรวมถึงคัมภีร์แผนนวดและฤาษีดัดตน

• สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2466)
-โปรดเกล้าให้ตรา พ.ร.บ.การแพทย์ ที่ระบุการนวดอยู่ในนิยามของการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ

• สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2472)
-มีกฎเสนาบดีระบุสาขาการนวดแผนโบราณในการประกอบโรคศิลปะกำหนดให้ต่ออายุทุก 3 ปี
-มีการก่อตั้งสมาคมแพทย์แผนโบราณแห่งประเทศไทย มีการสอนนวด

• สมัยรัชกาลที่ 8 (พ.ศ.2479)
-ได้ยกเลิก พ.ร.บ.การแพทย์ พ.ศ.2466 และได้ตรา พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2479
ขึ้นมาใช้แทน แต่ไม่มีสาขาการนวด

เส้นทาง “การนวดไทย” ยุคฟื้นฟูการนวดไทย (1)

-พ.ศ.2527 กลุ่มศึกษาปัญหายาและมูลนิธิสาธารณสุขกับการพัฒนา ได้ก่อตั้งโครงการฟื้นฟูการนวดไทยขึ้น

-พ.ศ.2536-2537 โครงการฟื้นฟูการนวดไทยและองค์กรสมาชิก 27 องค์กร ร่วมกันก่อตั้ง “สมาพันธ์แพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย” และได้รณรงค์แก้กฎหมายควบคุมการประกอบโรคศิลปะ โดยเสนอให้เพิ่ม “การนวดไทย” เป็นสาขาหนึ่งของการประกอบโรคศิลปะแผนไทย

-พ.ศ.2544 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศให้เพิ่มประเภทการนวดไทย ในสาขาการแพทย์แผนไทย ใน พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 (เป็นที่มาของการนวดไทยเพื่อการรักษา ที่เป็นวิชาชีพ)

เส้นทาง “การนวดไทย” ยุคฟื้นฟูการนวดไทย (2)

-พ.ศ.2545 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคล ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกอบโรคศิลปะ และต่อมาคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยได้อนุมัติ “หลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย” พ.ศ.2545 (330 ชั่วโมง) ต่อมาคณะกรรมการวิชาชีพฯได้ ประเมินผู้มีประสบการณ์ด้านการนวดไทย มีผู้ผ่านการประเมินจำนวน 81 คน

-พ.ศ.2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามในกฎกระทรวง ว่าด้วยการขอขึ้นทะเบียนและ รับใบอนุญาตในการประกอบโรคศิลปะ เมื่อ 31 ธ.ค.2547 ส่งผลให้เกิดผู้ได้รับใบอนุญาตสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไทย รุ่นแรกจำนวน 81 คน

-พ.ศ.2547 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ลงนามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดสถานที่เพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมสวยฯ ตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 (เป็นที่มาของการนวดเพื่อสุขภาพ)

-พ.ศ.2550 คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย อนุมัติหลักสูตรการประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ประเภทการนวดไทย พ.ศ.2550 (หลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย 800 ชั่วโมง) เพื่อเป็นมาตรฐานในการฝึกอบรมตามกฎหมาย

-พ.ศ.2556 ประกาศใช้ พ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ.2556 ซึ่งบทบัญญัติระบุประเภทของสาขาการแพทย์แผนไทย ได้แก่ เวชกรรมไทย เภสัชกรรมไทย การผดุงครรภ์ไทย การนวดไทย และการแพทย์ พื้นบ้านไทย

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิจัย พบ “นวดไทย” ลดเกร็งกล้ามเนื้อขา คลายทุกข์เด็กป่วยโรคซีพี

admin 6 เมษายน 2019

กรมสุขภาพจิต ผลการศึกษาวิจัย พบภูมิปัญญานวดไทย มีสรรพคุ […]

ส่ง “โขน-นวดไทย” ขึ้นยูเนสโก

admin 6 เมษายน 2019

นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยภายหลัง […]

เสนอเปลี่ยน Thai massage เป็น “นวดไทย”

admin 2 เมษายน 2019

งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 9 จัดขึ้นที่อิมแพ็ค เม […]