นิด้าพบวิธีตรวจแหล่งปลูกพืช มีสารตกค้าง?

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัตินิด้า (DPM NIDA) โชว์ผลงานการวิจัยบ่งชี้แหล่งปลูกพืชผลทางการเกษตร ว่ามีสารปนเปื้อนตกค้างหรือไม่ โดยใช้สกัดสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน ตรวจวัด ชี้ช่วยสร้างความมั่นใจการซื้อสินค้าที่ไม่มีสารปนเปื้อน

รศ.ดร.ศิวัช พงษ์เพียจันทร์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติ คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ DPM NIDA เปิดเผยว่า ปัจจุบันการสืบค้นแหล่งเพาะพันธุ์พืชเพื่อสืบหาสารตกค้างในพืชผลทางเกษตรเป็นเรื่องยาก เนื่องจากต้องใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น ทางศูนย์ฯ จึงให้ความสนใจเรื่องดังกล่าว โดยประสบความสำเร็จจากการวิจัยศึกษาบ่งชี้แหล่งเพาะปลูกของพืชผลทางเกษตร ด้วยสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons : PAHs) ที่เป็นการประยุกต์ใช้ปริมาณขององค์ประกอบของสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในพืชผลทางเกษตรเป็นตัวติดตามทางเคมี เพื่อบ่งชี้แหล่งเพาะปลูกด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักของสาร PAHs

ทั้งนี้ ทางศูนย์ฯ ได้นำผลวิเคราะห์ที่ได้นำไปเปรียบเทียบกับค่าวัดอัตราส่วนองค์ประกอบของ PAHs ของแต่ละแหล่งเพาะปลูกในฐานข้อมูล จึงสามารถบ่งชี้แหล่งเพาะปลูกพืชผลทางเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว แม่นยำ และประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคว่าพืชผลทางเกษตรที่เลือกซื้อนั้นไม่มีสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และช่วยให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของอาหารนั้นๆ ได้ ซึ่งช่วยลดความสูญเสียในการเรียกคืนสินค้าจากบริษัทผู้ผลิต ให้สามารถเรียกคืนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวมถึงสืบค้นแหล่งที่มาของสินค้าได้ทั้งระบบวงจรอาหาร

รศ.ดร.ศิวัชกล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาการจำแนกแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตามแหล่งผลิตยังไม่ดีเท่าที่ควร โดยมีความพยายามการประยุกต์การตรวจวิเคราะห์ด้วยไอโซโทปเสถียรมีข้อจำกัดทางด้านเครื่องมือ และมีความซับซ้อน และวิธีการสกัดหน่วยควบคุมพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอในพืช ที่แม้ว่าจะจำแนกผลิตภัณฑ์พืชผลทางการเกษตรได้ แต่ไม่สามารถบอกแหล่งที่มาของพืชผลการเกษตรได้ ดังนั้น วิธีการคิดค้นการพัฒนาการบ่งชี้แหล่งเพาะปลูกของพืชผลทางการเกษตรด้วยสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนตามการประดิษฐ์นี้ขึ้น เพื่อจัดให้มีอุปกรณ์ที่สามารถบ่งชี้แหล่งเพาะปลูกของพืชผลทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และความสำเร็จของงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติจนได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Food Control ของสำนักพิมพ์ Elsevier ซึ่งมีค่า Impact Factor สูงถึง 3.00 เป็นเครื่องรับประกันคุณภาพอีกด้วย.

ที่มา : ไทยโพสต์ 18 ธ.ค.2557

บทความที่เกี่ยวข้อง

ระวังพิษร้ายใน “แคนตาลูป” ขนาดคนปลูกปอดหาย แล้วคนกินล่ะ?

admin 6 เมษายน 2019

แคนตาลูป ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มาก แต่เนื่องจากมันไม่ใช่ […]

ยอบ้าน ปลูกไว้เป็นยา

admin 3 มกราคม 2019

ยอ เป็นไม้ที่ขึ้นทั่วไปตามป่า คนโบราณนิยมปลูกคู่บ้านถือ […]

ปลูกมะตูม แก้ร้อนใน

admin 3 มกราคม 2019

มาทำความรู้จักกับต้นมะตูมกันก่อน ชื่อสามัญ มะตูม ชื่อวิ […]