ระวังพิษร้ายใน “แคนตาลูป” ขนาดคนปลูกปอดหาย แล้วคนกินล่ะ?

แคนตาลูป ถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มาก แต่เนื่องจากมันไม่ใช่ผลไม้ที่ปลูกได้ง่ายในบ้านเรา ฉะนั้น การปลูกแคนตาลูป จำเป็นที่จะต้องใช้สารเคมีที่แรงและฉีดบ่อยๆ เพราะแคนตาลูปเป็นพืชที่อ่อนไหวต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และแมลงเป็นอย่างมาก เพียงแค่เห็นจุดดำเล็กๆ ที่ใบในตอนเช้า แต่มันสามารถกระจายไปทั้งไร่ได้ เพราะฉะนั้น ชาวชาวไร่แคลตาลูปจะต้องคอยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด และเมื่อพบ จึงจำเป็นที่จะต้องฉีดยาทันที

ระวังพิษร้ายใน “แคนตาลูป” ขนาดคนปลูกปอดหาย แล้วคนกินล่ะ?

ยาฆ่าแมลงที่เกษตรกรใช้นั้นชื่อว่า “ฟูราดาน” ซึ่งพิษของสารเคมีตัวนี้มีฤทธิ์ตกค้างอยู่ได้นานไม่ต่ำกว่า 3 เดือน เป็นสารอันตรายในลักษณะยาฆ่าแมลงชนิดหนึ่ง เป็นยาฆ่าแมลงชนิดดูดซึมจากรากต้นพืชขึ้นมาสู่ต้น ใบ ดอก ผล ไม่มีกลิ่น และสามารถมีฤทธิ์อยู่ในดินได้นานเป็นเดือนๆ ซึ่งโดยปกติแล้วมีข้อแนะนำให้นำเอาไปใช้กับไม้ดอกไม้ประดับเท่านั้น แต่เพราะคุณสมบัติอันวิเศษของมัน เกษตรกรไทยบางรายเห็นว่าฤทธิ์ยาสามารถอยู่ได้นาน ก็เลยนำมาใช้กับพืชที่เป็นอาหาร ฟูราดานที่ใช้กับพืชที่เป็นอาหารจำพวกแตงแทบทุกชนิดยังตกค้างอยู่ในตอนเก็บเกี่ยว ผลของยาทำให้ท้องเสียหรืออาจเจ็บป่วยร้ายแรงได้

เกษตรกรปลูกไร่แคนตาลูป พึงระวัง! หากใช้ชีวิตในความประมาท โดยขณะฉีดยาฆ่าแมลงนั้นไม่ปิดปาก จมูก หรือแม้แต่เวลาผสมน้ำยาลงในถังใช้มือเปล่าๆ คน โดยที่ไม่ส่วมใส่ถุงมือ นอกจากนั้นยังไม่พอ หลังจากการฉีดยาแล้วตัวเปียกน้ำยาที่ฉีดไปโดยที่ยังไม่แห้ง แต่ก็ยังคงทำงานในไร่ต่อ สารพิษในยาฆ่าแมลงนั้นอาจจะแทรกซึมอยู่ในร่างกาย หรือเวลาที่เราหายใจเข้าไป สารเคมีนั้นจะเข้าไปสะสมไว้ในปอด ซึ่งลักษณะอาการดังนี้เสี่ยงต่อการเสียปอด

1.ลักษณะอาการเหมือนคนเป็นวัณโรค
2.หมดเรี่ยวแรงในการทำงานต่อไปไม่ได้
3.ผอมซูบ
4.ไอโขลกๆ เล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงมีอาการไอรุนแรงจนไอออกมาเป็นเลือด
5.เวลาได้กลิ่นควันไฟหรือควันบุหรี่จะหายใจไม่อิ่ม

อาการเหล่านี้เมื่อเราเป็น สามารถเลี่ยงเพื่อไม่ให้ปอดเราหายไปเร็วมากขึ้น โดยการ เมื่อเวลาที่มีอาการไอจะต้องคอยจิบยาน้ำแก้ไออยู่ตลอดเวลา เลี่ยงความเย็น อย่างเช่น การเข้าห้องน้ำก็ต้องระวังไม่ให้ถูกความเย็นมาก เวลานอนต้องทำให้ร่างกายอบอุ่นอยู่เสมอ เมื่อฤดูหนาวมาเยือนจะต้องคอยหลีกเลี่ยงอากาศที่เย็น และยังต้องหนีหรือเลี่ยงควันไฟและควันบุหรี่

ระวังพิษร้ายใน “แคนตาลูป” ขนาดคนปลูกปอดหาย แล้วคนกินล่ะ?

สำหรับผู้บริโภค ไม่ควรที่จะบริโภคติดต่อกันเป็นเวลานาน ถ้าหากอยากบริโภคบ่อยๆ ต้องมั่นใจว่าแหล่งที่มาไม่มีการใช้สารเคมี ถ้าซื้อตามท้องตลาดทั่วไป ก่อนปอกเปลือก ควรแช่น้ำเกลือและล้างให้สะอาดที่สุดเพื่อป้องกันสารพิษตกค้าง

หากไม่แน่ใจว่ามีสารพิษตกค้างในแคนตาลูปหรือเปล่า มีวิธีการสังเกตและตรวจสอบเบื้องต้นง่ายๆ ด้วยตัวคุณเองดังนี้

1.เลือกลูกที่มีน้ำหนักมากมีกลิ่นหอม แต่ไม่ฉุนเกินไป เนื้อจะเละ รอบๆ ขั้วจะเป็นร่องหยัก ถ้าเป็นลูกที่แก่จัด สีผิวจะเหลืองเสมอกันทั้งลูก และไม่เหี่ยว ลูกโตจะรสดีกว่าลูกเล็ก

2.ผู้บริโภคควรทำความสะอาดผลไม้ก่อนที่จะมีการรับประทาน ไม่ว่าจะเป็นการล้าง ลวกน้ำร้อน ต้ม ตุ๋น หรือการแช่สารต่างๆ เช่น น้ำส้ม ด่างทับทิม หรือน้ำยาล้างผักผลไม้ต่างๆ ก็จะช่วยลดปริมาณสารพิษตกค้างลงได้มากยิ่งขึ้น

___________
ข่าวโดย : กมลชนก บุญเพ็ง
ที่มา : www.manager.co.th 7 ม.ค.2558

บทความที่เกี่ยวข้อง

นิด้าพบวิธีตรวจแหล่งปลูกพืช มีสารตกค้าง?

admin 6 เมษายน 2019

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัตินิด้า (DP […]

ยอบ้าน ปลูกไว้เป็นยา

admin 3 มกราคม 2019

ยอ เป็นไม้ที่ขึ้นทั่วไปตามป่า คนโบราณนิยมปลูกคู่บ้านถือ […]

ปลูกมะตูม แก้ร้อนใน

admin 3 มกราคม 2019

มาทำความรู้จักกับต้นมะตูมกันก่อน ชื่อสามัญ มะตูม ชื่อวิ […]