ปลูกป่า ปลูกสมุนไพร ช่วยโลก ช่วยเรา

โพสต์ที่แล้วคุยถึงเรื่องปลูกต้นไม้ ปลูกป่า อยากให้เลือกปลูกพันธุ์ไม้ท้องถิ่น หรือพันธุ์ไม้สมุนไพร
ซึ่งสร้างรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชนด้วย

วันนี้อยากชวนคุยเรื่องการดูแลป่าสาธารณะหรือป่าวัฒนธรรมของชุมชนทางภาคอีสาน
ป่าดังกล่าวนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนอีสาน เพราะป่าเป็นแหล่งอาหารและยาสมุนไพรที่สำคัญ
พอจะนึกภาพออกมั้ยคะว่า..ป่าเป็นแหล่งอาหาร เป็นแหล่งยาสมุนไพรได้อย่างไร
ป่าที่อยู่ในเมืองนั้น เราไม่อาจจะเรียกว่าป่า นั้นเป็นเพียงการปลูกต้นไม้เพื่อให้ร่มเงาให้ความร่มรื่น มีนกมาอาศัย
หรือโครงการปลูกป่าต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นการปลูกต้นไม้ไม่กี่สายพันธุ์หรือเป็นป่าเชิงเดี่ยว ก็คือปลูกพันธุ์ไม้สายพันธุ์เดียว
ป่าแบบนี้ไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพ

ในชุมชนทางภาคอีสานมีหลายพื้นที่ที่มีป่าสาธารณะหรือป่าวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ ที่ทุกสรรพสิ่งอาศัยพึ่งพากัน

ฉะนั้น การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าวัฒนธรรมมีส่วนสำคัญในการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ
เชื่อว่าหลายคนนึกภาพไม่ออกว่า  ป่าที่มีต้นไม้หลากหลายพันธุ์พืชนั้นเป็นอย่างไร?
แล้วป่านี้จะมีพืชสมุนไพรได้อย่างไร?  แล้วสมุนไพรไม่ได้มาจากแปลงปลูกหรอกหรือ?

มีกรณีศึกษาภูมิปัญญาชุมชน  ป่าเชียงเหียน จ.มหาสารคาม ได้เก็บข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นพบว่า พืชสมุนไพรที่เคยพบในพื้นที่นี้ นำมาใช้ในตำรับยาของชุมชนและจำหน่ายไปทั่วประเทศซึ่งมีตำรับยาอยู่ 17 ตำรับ แยกเป็นพันธุ์ไม้ต่างๆ ได้มากกว่า 57 ชนิด

จากข้อมูลที่พบสะท้อนให้เห็นอะไร?
พันธุ์ไม้ต่างๆ มีมากกว่า 57 ชนิด ซึ่งไม่ใช่จำนวนน้อยๆ เลย  ที่ได้จากพื้นที่ป่า นี่แหละที่เรียกว่า “ความหลากหลาย”
นำพืชสมุนไพรที่ได้จากป่ามาทำเป็นตำรับ 17 ตำรับ และขายทั่วประเทศ …นี่คือรายได้ที่เกิดขึ้นจากการมีพื้นที่ป่าสาธารณะหรือป่าวัฒนธรรม ที่สำคัญ ชุมชนมียารักษาโรคเป็นของตัวเอง

การปลูกพันธุ์ไม้หลากหลายชนิดปะปนกัน ไม้แต่ละชนิดมีอัตราการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน แม้จะปลูกในเวลาเดียวกัน เมื่อระยะเวลาผ่านไป 1 ปี  พื้นที่ปลูกป่านั้นจะมีทั้งไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม และไม้พื้นล่างปะปนกัน ทำให้มีสภาพคล้ายธรรมชาติ

ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นเชื่อว่าพันธุ์แต่ละชนิดต้องมีเพื่อนเจริญร่วมทาง แต่ละชนิดจะดูแลเอื้อประโยชน์ต่อการอยู่ร่วมกัน
เช่น หากเราจะปลูกไม้ยางนา เราไม่ควรปลูกแต่ไม่ยางนาอย่างเดียว  ควรปลูกแซมด้วยไม้แดง ไม้ซาด ไม้กุง
การมีเพื่อนร่วมเจริญเติบโตจะทำให้ไม้ที่ปลูกมีอัตราการอยู่รอดสูง

การปลูกสมุนไพรตามตำรับยาที่ชุมชนมีการใช้

…นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “สมุนไพร” หมายความว่า มีสมุนที่หลากหลายมาอยู่รวมกันเป็นป่า

 

 

 

 

 

#มูลนิธิสุขภาพไทย  #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน  #BCG   #สมุนไพรไทย   #ปลูกต้นไม้ลดโลกร้อน

#หมอพื้นบ้าน  #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน  #ปลูกพืชสมุนไพร   #ป่าชุมชนอีสาน  #ป่าสาธารณะ    #ป่าวัฒนธรรม

#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ   #สสส.