ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเกษตรพื้นบ้าน : อาหาร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารของคนอีสานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการดูแลสุขภาพของเราโดยตรงมีหลายอย่าง
แต่ละภูมิปัญญากลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของเราไปแล้ว

วัฒนธรรมการบริโภคอาหารของคนอีสานมีลักษณะที่แตกต่างไปจากคนในภาคอื่นๆ
คนอีสานยึดหลักที่ว่า “กินข้าวเป็นหลัก กินผักเป็นยา กินปลาเป็นอาหาร”
อาหารหลักของคนอีสานเป็นอาหารที่หาได้ภายในท้องถิ่น มีการปรุงแต่งที่ไม่ซับซ้อน
อาหารหลักคือข้าวเหนียวและปลาร้า เป็นแหล่งโปรตีนและเครื่องปรุงรส ส่วนผักต่างๆ เป็นอาหารประกอบ

หลักในการกินอาหารของคนอีสาน คือ
1.กินอาหารที่มีตามฤดูกาล ซึ่งให้ผลดี 2 อย่างคือ ประหยัดเงินไม่ต้องหาซื้ออาหาร เพราะอาหารมีให้กินในท้องถิ่นตามฤดูกาล และเป็นการปรับสมดุลของสิ่งแวดล้อมภายในให้เข้ากับภายนอกร่างกาย
2.เป็นการกินอาหารเป็นยา เพื่อให้ร่างกายปกป้องต่อสิ่งที่อาจทำให้เกิดความผิดปกติ หรือแก้ไขความผิดปกติของร่างกาย
เช่น กินของขมเป็นอาหารทุกมื้อ คนอีสานชอบกินของสดหรืออาหารดิบ ทำให้ตับทำงานหนัก สารที่ให้รสขมมีส่วนช่วยบำรุงตับ การกินของขมช่วยให้ตับแข็งแรง

พูดถึงผักที่ให้รสขม…นึกถึงมะระก่อนเป็นอย่างแรกใช่มั้ยคะ…
นอกจากมะระ และมะระขี้นกแล้ว ผักที่นิยมกินแต่ไม่ค่อยพบในกรุงเทพฯ ก็คือ ฝักลิ้นฟ้า หรือฝักเพกามีมากในช่วงฤดูฝนต่อฤดูหนาว …
คอนเฟิร์มเลยว่า “เพกาขมจริง!” พอนึกว่า กินของขมเป็นยา ก็พอที่จะกลืนลงค่ะ!
หรือ สะเดาก็เป็นผักรสขม มีมากในฤดูหนาว
จากรายงานของ Drewnowski and Gomez-Carneros (2000) พบว่า สารที่ให้รสขมในพืชผักช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันในการต่อต้านโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง เอดส์
และจากการศึกษาของ Akabas et al.(1988) พบว่า สารที่ให้รสขมในผักช่วยทำให้มีการสะสมแคลเซี่ยมในเซลล์มากขึ้น ซึ่งสามารถต่อต้านสารแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายได้

เห็นมั้ยคะว่า….
หวานเป็นลม…แต่ขมเป็นยา …ยาดีจริงๆค่ะ

#มูลนิธิสุขภาพไทย #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน #อาหารรสขม
#ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับอาหาร
#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.