มะกอกเกลื้อน

“มะกอกเกลื้อน” ฟังชื่อแล้วก็ไม้คุ้น
“มะกอกเกลื้อน” มีชื่อเรียกหลายชื่อค่ะ
เช่น  มะกอกเลือด  มะกอกเลื่อม มะเกิ้ม มักเลื่อม  โมกเลื่อม
หรือชื่อท้องถิ่นอื่นๆ เช่น กอกเหลี่ยม  มะกอกเหลี่ยม  หมากเหลี่ยม

มะกอกเกลื้อน  (Canarium subulatum Guillaumin)  เป็นไม้ต้นสูง ประมาณ 10-25 เมตร  ผลัดใบ มียางสีขาว ใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยมี 2-5 คู่  หลังใบมีขนเล็กน้อย
ดอกช่อออกที่ซอกใบ  ผลรูปไข่หรือคล้ายกระสวย ขนาด 4-5 เซนติเมตร
เมื่ออายุ 10 ปี มะกอกเกลื้อนจะออกดอก ออกผล

ผสของมะกอกเกลื้อนมีรสฝาดเปรี้ยว…ส่วนเนื้อในของเมล็ดกินได้ เรียกว่า ผลมะเกลื้อน กินได้ นำมาเป็นผักแกล้มกินกับน้ำพริกได้

แก่นของต้นมะเกลื้อนมีรสเฝื่อน แก้โลหิตระดูพิการ
ยางสดใช้เป็นยาทาภายนอกแก้อาการผดผื่นคัน ตุ่มคัน

มะกอกเกลื้อนเป็นต้นไม้ที่ขยายพันธุ์ง่ายมากๆ
เพียงแค่เก็บผลมะกอกเกลื้อนที่สุกเต็มที่มากองรวมกันปล่อยทิ้งไว้ให้เนื้อหุ้มเมล็ดเน่าเปื่อย และนำเอาเฉพาะเมล็ดมาล้างน้ำให้สะอาดนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำเมล็ดไปเพาะในถุงเพาะชำ วางไว้บริเวณให้แดดส่องถึง  รดน้ำ 2-3 วัน/ครั้ง
ปล่อยทิ้งไว้ 30-45 วัน เมล็ดจะเริ่มงอกเป็นต้นอ่อน

มะกอกเกลื้อนหรือกอกเหลี่ยม  มะกอกเหลี่ยม  หมากเหลี่ยม ไม่ว่าจะเรียกว่าอะไรก็ตาม เป็นพืชที่มีคุณค่าหลายด้าน
ถ้าจะปลูกต้นไม้อีกสักต้นลองปลูกต้นมะกอกเกลื้อนนะคะ

#มูลนิธิสุขภาพไทย  #ภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน  #มะกอกเกลื้อน

#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ   #สสส.