สสส. ปลุกสำนึกเยาวชนสร้างความเข้มแข็งชุมชน

งานครั้งนี้จุดประสงค์ของเจ้าภาพจะดึงศิลปิน-เยาวชน-ผู้นำชุมชน ที่มีจิตสาธารณะและมีศักยภาพมาทำงานร่วมกัน เน้นใช้จุดเด่น อัตลักษณ์ รากเหง้าของสื่อศิลปะและวัฒนธรรมชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น มาใช้ในกระบวนการพัฒนาและสร้างการเปลี่ยน แปลง ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง จ.ลพบุรี

พิธีการเริ่มขึ้นหลังจากพิธีกรกล่าวเชิญแขกผู้มีเกียรติมาร่วมกันที่เวทีใหญ่กลางแจ้งเสร็จสิ้นลง โดย ภก.สงกรานต์ ภาคโชคดี ผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าวทักทายแขกผู้มีเกียรติด้วยน้ำเสียงยินดีพร้อมเริ่มกล่าวเปิดงานว่า “กิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นหนึ่งในกิจกรรมของ โครงการการจัดการศึกษาบนฐานชุมชนตำบลโคกสลุง ภายใต้ทิศทางของแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ที่เป็นกระบวนการการเปลี่ยนแปลงอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนที่เป็น ศิลปิน-เยาวชน-ผู้นำชุมชน ที่มีจิตสาธารณะ มาพัฒนากระบวนการเรียนรู้และสร้างศักยภาพ สร้างความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ยั่งยืนให้แก่เด็ก เยาวชน สถานศึกษา และศิลปินที่เกี่ยวข้อง เป็นกระบวนการที่เรียกว่าเป็นการเรียนรู้ขาออก (Inside out learning) ที่จะสร้างหลักการความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีส่วนร่วม อย่างแกนนำเยาวชนในชุมชนเพื่อไปสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนตนเองและชุมชนอื่นๆใกล้เคียงให้สร้างความตื่นตัว และสร้างความตระหนักให้กับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้มีความมั่นใจในการเดินหน้าต่อเรื่องของการพัฒนาชุมชนบนฐานของความรู้และฐานของการศึกษาท้องถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์มีกระบวนการทดลองทำแล้วก็แสดงออกเป็นระยะๆ ที่เป็นเสมือนการเรียนรู้ที่อยู่นอกห้องเรียนแต่สามารถสร้างความยั่งยืนอย่างจริงจังมากขึ้นได้”

หลังจากนั้น “ภก.สงกรานต์” กล่าวเสร็จก็ถึงคิวของนายประทีป อ่อนสลุง ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้จัดตลาดนัดศิลปวัฒนธรรมและเวทีสาธารณะชุมชน ครั้งที่ 1 ขึ้นเวทีกล่าวว่า “ชุมชนไทยเบิ้งเป็นชุมชนที่มีความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี มีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันอยู่หลากหลาย อาทิ ภาษาและวรรณกรรม ศิลปกรรม ดนตรี การละเล่นเพลงพื้นบ้าน การละเล่นทั่วไปและกีฬา ทั้งนี้ ประเพณีชีวิตยังสอดแทรกวัฒนธรรมอันดีงามไว้ ทั้งเรื่องความกตัญญู ความสามัคคี ความมีน้ำใจเสียสละ ความเอื้อ เฟื้อเผื่อแผ่ ความเห็นอกเห็นใจ และยังมีประเพณีท้องถิ่นเนื่องในพุทธศาสนา ตรุษสารท และประเพณีเกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพและเกี่ยวข้องกับความเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น โชคลาง โหราศาสตร์ ภูตผีปีศาจ และไสยศาสตร์ จึงเป็นที่มาของรูปแบบการจัดกิจกรรมที่เกิดขึ้นครั้งที่ 1 นี้ ที่เน้นเรื่อง “ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ” เป็นหลัก เพราะเป็นเหมือนทั้งแนวทางและตัวกำหนด เข็มทิศในการเดินของคนในชุมชน อย่างเรื่องการทำนา การรับท้องข้าว (ประเพณีที่ นิยมทำกันในวันเข้าพรรษาหรือลาพรรษา หลังจากเสร็จพิธีทำบุญแล้วแต่ละบ้านจะทำพิธีรับท้องข้าวกันที่นาของตนเพื่อให้ในปีนั้น ข้าวในนาออกรวงตั้งท้องสวยงาม) การรับ ขวัญข้าว (ทำหลังจากเกี่ยวข้าว นวดข้าวนำข้าวเข้ายุ้ง) ความเชื่อเรื่องผี อย่างผีบ้าน ผีเรือนหรือผีปู่ย่าตายาย แต่ชาวไทยเบิ้งจะ ไม่นิยมตั้งศาลบูชา หรือตั้งเป็นศาลเจ้าที่ แต่จะเชื่อว่ามีอยู่จริงในบ้านเรือน จึงได้มีพิธีการ เลี้ยงเจ้าบ้านที่เรียกว่า “พ่อหลวงเพชร” ขึ้นทุกปีในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 เพราะเชื่อว่า พ่อหลวงจะเป็นผู้ดูแลในทุกเรื่อง มีอะไรก็จะเรียกให้พ่อหลวงช่วยเสมอ และมีเครื่องเซ่นในพิธีกรรมต่างๆ ต้นไม้สมุนไพรผี และยาผีบอก ที่เป็นความเชื่อที่ชาวบ้านนิยมทำสืบทอดกันมาหลายช่วงอายุแล้ว”

“ความเชื่อดังกล่าวเป็นการสอนให้เด็กและเยาวชนเห็นคุณค่าเกิดความภาคภูมิใจจะอนุรักษ์ หวงแหน สืบสานสืบทอดความเชื่อเหล่านี้ต่อไปก่อนจะหลงลืมเรื่องราวความเชื่อดีๆไป ที่สำคัญกิจกรรมที่จัด ขึ้นยังดึงคนในชุมชนมาทำกิจกรรมร่วมกันได้อย่างไม่มีข้อแม้ ก่อให้เกิดความรักความ สามัคคีกัน เพราะเป็นเรื่องของความงดงาม ภูมิปัญญา วิถีชีวิตของคนในชุมชน ซึ่งจะกลายเป็นเสน่ห์ชุมชน ที่สามารถพัฒนาเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสืบไปในอนาคตได้” นายประทีป อ่อนสลุง กล่าว

ครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของกิจกรรม ภายใต้โครงการการจัดการศึกษาบนฐาน ชุมชนตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี ที่นำความเชื่อที่มีมาถ่าย ทอด ซึ่งครั้งต่อไปจะมีการนำของดีในชุมชนโดยเฉพาะเรื่องอาหารมาปลูกฝังและถ่ายทอดต่อ แต่จะมีรูปแบบและวิธีการในการนำเสนออย่างไรสามารถติด ตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.art culture4health.com

ที่มา : สยามธุรกิจออนไลน์

บทความที่เกี่ยวข้อง

บ้านหมอ

admin 14 มกราคม 2019

ปัจจุบันสังคมไทยทุกภูมิภาคยังคงมีการใช้ประโยชน์จากภูมิป […]