เรื่องของ “แม่ก๋ำเดือน” (1)

“แม่ก๋ำเดือน” คำนี้ไม่บอกคงพอจะเดาออกว่า น่าจะเป็นภาษาเหนือ แต่แปลว่าอะไรล่ะ?
“แม่ก๋ำเดือน” คือการอยู่ไฟของหญิงหลังคลอด
ใช่แล้วค่ะ …โพสต์นี้ยังอยู่กับเรื่องของผู้หญิงท้อง แอดคิดว่า บางเรื่องเราต่างก็หลงลืมไปแล้ว บางเรื่องเรายังยึดถือปฏิบัติอยู่
เราลองมาดูเรื่องการอยู่ไฟของหญิงหลังคลอดทางภาคเหนือกันบ้าง

การอยู่ไฟของหญิงหลังคลอดหรือ “แม่ก๋ำเดือน” เป็นนวัตกรรมที่คนโบราณมอบไว้ให้สตรีที่มีบุตรทุกคนได้ใช้ดูแลสุขภาพ ทุกวันนี้มีการรื้อฟื้นและพัฒนาวิธีการอยู่ไฟให้ร่วมสมัยมากขึ้น รวมถึงการได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพราะเรื่องนี้พิสูจน์กันแล้วว่า การดูแลสุขภาพของแม่ก๋ำเดือน มีผลดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง

การดูแลสุขภาพแม่ก๋ำเดือนแบบพื้นบ้านล้านนา ด้วยวิธีการ “อยู่เดือนไฟ” เป็นวิถีชีวิตที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ และเป็นกระบวนการหนึ่งของการดูแลสุขภาพแม่ก๋ำเดือนเป็นเวลา 3 เดือนเต็มหลังคลอด หรือเป็นการพักฟื้นร่างการ 1 เดือนเต็มๆ และมีการใช้ไฟหรือความร้อนในการดูแลร่างกาย เพื่อขับพิษ ขับน้ำคาวปลาให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะปกติ

มีคำถามว่า ทำไมต้องมีการอยู่เดือนไฟ ถ้าไม่อยู่ไฟได้ไหม?

ก่อนจะตอบคำถาม อยากให้อ่านเรื่องราวเหล่านี้ก่อน แล้วค่อยตอบคำถาม
การดูแลสุขภาพแม่ก๋ำเดือน เป็นศาสตร์และศิลป์ในการดูแลสุขภาพของหญิงหลังคลอดชาวล้านนาหลังคลอดลูกร่างกายต้องการพักฟื้นเพื่อกลับคืนสู่ภาวะปกติโดยเร็ว และหลักทฤษฏีการแพทย์ที่ให้ความสำคัญเรื่องระบบเลือดลม และฮ้วนหรือมดลูก
การฟื้นฟูหรือการทำให้ร่างกายกลับสู่ความสมดุลของธาตุทั้ง 4 คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ให้เร็วที่สุดย่อมดีต่อสุขภาพ
แม่ก๋ำเดือนจะมีภาวะที่ร่างกายเสียสมดุล เลือดลมผิดยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ และหลังคลอดบุตรเป็นช่วงที่ผู้หญิงเสียเลือดมาก ร่างกายอ่อนแอ จึงต้องมีการดูแลพักฟื้น และยังต้องดูแลมดลูกให้หดตัว หรือเข้าอู่เป็นปกติ
หัวใจสำคัญของการดูแลแม่ก๋ำเดือนอยู่ที่การดูแลเลือดลม และมดลูกของหญิงหลังคลอดเข้าสู่ภาวะปกตินั่นเอง
เรื่องการดูแลแม่ก๋ำเดือนยังไม่จบนี่เป็นเพียงแค่การเริ่มต้น….
รออ่านตอนหน้านะคะ

#มูลนิธิสุขภาพไทย #แม่ก๋ำเดือน #คนท้อง #สมุนไพรไทย #อยู่ไฟ #หมอตำแย #ภูมิปัญญาคนเหนือ