แก้นิสัยได้ด้วย Time-in

คุณพ่อคุณแม่ยิ่งโดยเฉพาะที่มีลูกเป็นเด็กพิเศษมักมีปัญหาว่า ลูกดื้อ ลูกพูดไม่รู้เรื่องจึงใช้วิธีการที่เรียกกันว่า ” time-out ” คือแยกให้เด็กไปนั่งอีกห้องหรืออีกที่เพื่อสงบใจหรือบางครั้งคุณพ่อคุณแม่มักพูดว่า เพื่อให้คิดได้ แต่กลับกลายเป็นว่าวิธีนี้ไม่ได้ผลเด็กเริ่มแสดงอาการโกรธเกรี้ยวเด็กบางคนรู้สึกว่า time-outไม่ได้ทำให้เขาสงบใจแต่ทำให้ยิ่งไม่พอใจและบางครั้ง time-out กลับกลายเป็นตัวกระตุ้นให้เขายิ่งทำพฤติกรรมแย่ๆออกมามากขึ้น

ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมศาสตร์จาก Pennsylvania State University รวมถึงศาสตราจารย์ด้านออทิสซึมและความผิดปกติที่เกี่ยวข้องจาก Kennedy Krieger Institute แนะนำว่าเพื่อเป็นการปรับพฤติกรรมเด็กแล้วการใช้ time-out จะไม่ค่อยได้ผลยิ่งโดยเฉพาะกับเด็กเล็กๆและยิ่งโดยเฉพาะเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมประเภท ADHD หรือ ADD

หลักการของ “time-in”คือเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะให้เด็กนั่งหรือยืนที่มุมหนึ่งของห้องซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะต้องนั่งอยู่ที่ในห้องนั้นด้วยเด็กจะต้องอยู่อย่างสงบนิ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งแต่ไม่นานจนเกินไปเพราะนั่นคือการส่งสัญญาณบอกเด็กว่าถึงแม้พฤติกรรมเขาจะไม่น่ารักแต่คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ได้ทอดทิ้งเขาสำหรับเด็กที่อายุ 3 ขวบขึ้นไปนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจจะใช้วิธีนับเพื่อให้เขานั่งลงถ้าเด็กไม่ยอมนั่งให้พูดด้วยน้ำเสียงธรรมดาว่า “ถ้าหนูไม่นั่งจาก 1 นาทีจะกลายเป็น 3 นาทีนะคะ” ถ้าเด็กยังไม่ยอมนั่งให้เพิ่มระยะเวลาขึ้นเรื่อยๆจนเด็กพร้อมจะนั่งและใช้รูปแบบเดียวกันนี้กับเด็กที่ส่งเสียงดังตะคอกหรือร้องโวยวายคุณพ่อคุณแม่จะต้องกำหนดเวลาล่วงหน้าว่าจะให้นั่งกี่นาทีแต่ไม่ควรเกิน 15 นาทีในเด็กเล็กโดยปกติจะไม่เกิน 5 นาทีหรือจะให้เฉลี่ยคือประมาณ 1 นาทีต่ออายุ 1 ปี

ศาสตราจารย์จาก Penn State University ยังแนะนำด้วยว่า เมื่อลูกนั่งแล้วคุณพ่อหรือคุณแม่ควรจะยืนอยู่กับเขา แต่ไม่ใช่ยืนจ้องหน้าเขาหรือจะให้ดีก็คือคุณแม่อาจจะยืนอยู่ด้านหลังพร้อมกับวางมือลงบนไหล่โดยวางอย่างเบามือและไม่กดน้ำหนักลงบนไหล่ ซึ่งวิธีการนี้ใช้ได้ดีกับเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรมอื่นๆ ด้วยเพราะเด็กเหล่านี้จะมีความกระตือรือร้นมักจะอยากผุดลุกผุดนั่งตลอดเวลา การนั่งไม่นานสามารถทำให้เด็กผ่อนคลายการถูกจำกัดได้ในขณะเดียวกัน การเอามือของคุณแม่วางไว้บนไหล่หรือในบางครั้งอาจะเอามือจับกันไว้ทำให้เขารู้สึกได้ว่า ยังมีคนอยู่ด้วยนั่นเองและเป็นการแสดงความใกล้ชิดไม่ใช่เพราะโกรธและอยากควบคุมนอกจากนี้ยังเป็นการป้องกันไม่ให้เด็กทำอะไรรุนแรงอีกด้วย

รูปแบบของวิธีการ time-in ที่ได้ผลดียิ่งโดยเฉพาะในเด็กวัยอนุบาลคือเทคนิค “teddy bear” วิธีการก็คือเมื่อไหร่ก็ตามที่เด็กทำผิดหรือแสดงพฤติกรรมไม่ดีก่อนคุณแม่จะให้ time-in ก็บอกให้ไปหยิบตุ๊กตาที่ชอบมานั่งเป็นเพื่อนด้วยหลังจากนั้นก็ให้ลูกและคุณแม่พูดกับตุ๊กตาในเรื่องที่เกิดขึ้น โดยที่คุณแม่เริ่มก่อนก็ได้ว่า “แม่เสียใจจังเลยวันนี้น้องตูนไปตีคุณยายพี่หมีช่วยบอกคุณแม่ได้ไหมคะว่าคุณแม่ จะทำอย่างไรดี” แล้วให้ลูกพูดกับตุ๊กตาในเชิงตอบโต้เช่นเดียวกันเทคนิคteddy bear นี้จะช่วยให้เด็กคิดและพิจารณาพฤติกรรมต่างๆด้วยตัวเองอีกทั้งยังช่วยคุณแม่ให้ใจเย็นลงอีกด้วยค่ะ

ในการจับเวลานั้นคุณแม่อาจเลือกเอานาฬิกาที่มีเสียงจับเวลาและนาฬิกาที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ เช่นนาฬิกาจับเวลาน้ำเดือดควรหลีกเลี่ยงนาฬิกาข้อมือเพราะทำให้เด็กไม่แน่ใจว่าครบกำหนดระยะเวลาจริงๆหรือไม่และเมื่อเด็กคุ้นเคยกับวิธีการ time-in แล้วเด็กอาจจะเป็นตั้งระยะเวลาเองเสียด้วยซ้ำ

วิธีการ time-in นี้นอกจากจะเป็นการทำให้เด็กสงบสติอารมณ์ลงแล้ว โดยส่วนใหญ่ก็ช่วยทำให้คุณพ่อคุณแม่ใจเย็นลงและพร้อมที่จะคุยกันถึงสาเหตุของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น และเมื่อคุณพ่อคุณแม่ได้มีเวลาทบทวนเหตุการณ์ไปพร้อมๆกับลูกและรับฟังเหตุผลอีกด้านด้วยแล้ว ทำให้การมองในมุมๆเดียวของตนเองอาจ”ไม่ใช่”คำตอบในพฤติกรรมที่ไม่น่ารักของลูกอีกด้วยค่ะ

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

บทความที่เกี่ยวข้อง

สร้างของเล่นพัฒนาเด็กพิการ‬

admin 23 กุมภาพันธ์ 2019

การเล่นเป็นกระบวนการการพัฒนาของร่างกาย จิตใจ สติปัญญา แ […]

ใช้ “นิทาน” ช่วยพัฒนาการเด็กออทิสติก

admin 23 กุมภาพันธ์ 2019

นางสกุลศรี บุญโชติอนันต์ คณะทำงานโครงการนิทานสร้างได้ ก […]

ห้ามใช้ “มือถือ-แอปฯ” เลี้ยงลูกต่ำกว่า 3 ขวบ สมองไม่จัดลำดับเรียนรู้

admin 23 กุมภาพันธ์ 2019

พญ.พรรณพิมล วิปุรากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจ […]