ยาต้ม (จบ)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แน่นอนว่าคนเฒ่าคนแก่ คนพื้นที่เดิมๆ รู้จักและกินยาต้มเป็นเรื่องปกติ
ส่วนคนวัยหนุ่มสาวรู้จักยาต้มมาตั้งแต่วัยเด็ก พอโตขึ้นมา ยาต้มได้หายไปจากชีวิต …และวันนี้ “ยาต้ม” กลับมาแล้ว
การฟื้นฟูภูมิปัญญาตำรับ “ยาต้ม” ที่ ต.โรงช้าง อ.ป่าแดด จ.เชียงราย เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปขยายผลเรื่องอื่นๆ
“ยาต้ม” ทำให้…
ลดค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าภาพงานศพ/งานบุญ เช่น จากที่มีชา กาแฟ น้ำตาล เหล้า น้ำอัดลม ก็เสิร์ฟยาต้มแทน
คนมางานดื่มยาต้มแล้วสุขภาพดีกว่าดื่มน้ำอัดลมและเหล้า
เมื่อก่อนยาต้มจะมาพร้อมกับรถเข็น…ไปให้บริการตามงานต่างๆ
ตอนนี้ เจ้าภาพงานศพ/งานบุญเสิร์ฟยาต้มแทบทุกงาน
เพราะ สรรพคุณของ “ยาต้ม” เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า “ดีจริงๆ”
ดื่มเหล้าแล้ว..เมาหลับไป ตื่นเช้ามาปวดหัว แต่ ดื่มยาต้ม นอนปกติ หลับเต็มที่ ตื่นเช้ามาสดชื่น
“ยาต้ม”ทำให้…
เกิดโครงการ “ตู้ยาหลังบ้าน” เป็นโครงการขยายและส่งเสริมแปลงปลูกพืชสมุนไพรในชุมชน
เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร สาบเสือ เสลดพังพอน หญ้าหนวดแมว ทองพันชั่ง อ้อยดำ อ้อยแดง
ชาวบ้านเริ่มปลูกสมุนไพรในพื้นที่ว่างเปล่า มากขึ้น มีสมุนไพรรอบบ้าน

แอดมินได้คุยกับ คุณณิชภูมิ คำเมืองเหนือ นายกเทศมนตรีตำบลโรงช้าง อ.ป่าแดด จ.เชียงราย
นายกฯ เล่าว่า “นอกจากโครงการตู้ยาหลังบ้านแล้ว ยังมีการรวมกลุ่มหมอเป็น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมอเมืองโรงช้าง มีการออกหน่วยคลายเส้น”
การออกหน่วยหน่วยคลายเส้น จะไปให้บริการในชุมชน ทั้ง 12 หมู่บ้านๆ ละ 2 วัน ชาวบ้านมาใช้บริการกันล้นหลาม
“จากการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย
ไม่ว่าจะเป็น หมอ(รพ.สต.) กลุ่มผู้สูงอายุที่มีจิตอาสา อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) วัดและพระเข้ามาช่วยด้วย และหน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานเกษตร พัฒนาชุมชน ตลอดจนสถาบันการศึกษา”

เมื่อยาต้มไม่ได้เป็นแค่ยาต้ม และสมุนไพรมีคุณค่ามากกว่าสรรพคุณทางยา
แต่ยังช่วยทำให้คนหลายกลุ่มมาร่วมมือกันฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านสุขภาพไปด้วยกัน

#มูลนิธิสุขภาพไทย #ภูมิปัญญาพื้นบ้านภาคเหนือ #สมุนไพรไทย #แพทย์แผนไทย
#เทศบาลตำบลโรงช้าง #ยาต้ม
#หมอพื้นบ้าน #ภูมิปัญญาพื้นบ้าน
#สุขภาพชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ #สสส.