วท.ลุยดัน “สมุนไพร” สู่เวชสำอาง

ดร.พีรพันธุ์ พาลุสุข รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เปิดเผยว่า วท.กำลังดำเนินการนำพืชสมุนไพรไทยมาวิจัยและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เวชสำอางและยารักษาโรคเพื่อยกระดับมาตรฐานและคุณภาพในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการนำวิทยาศาสตร์มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ โดยนำพืชสมุนไพรไทยที่มีอยู่เป็นจำนวนมากมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้มอบให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (วว.) หาพื้นที่ในการทดลองปลูก พัฒนา และ ปรับปรุงสายพันธุ์ แสวงหาสายพันธุ์ใหม่ และวิจัยเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ และการสกัดสารออกฤทธิ์จากพืชสมุนไพรไทย โดย วว.ได้ใช้พื้นที่สถานีวิจัยลำตะคอง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ตั้งของสวนสมุนไพร วว.เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จำนวน 25 ไร่ มีสวนสมุนไพรกว่า 300 ชนิด และยังมีพิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นแหล่งจัดแสดงนิทรรศการวิวัฒนาการการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย โดยได้รวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรที่มีคุณสมบัติในทางเภสัชกรรมและป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชและสัตว์เป็นพื้นที่ดำเนินการ

รมว.วท.กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ มอบให้สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของสารสกัดรวมถึงผลิตภัณฑ์เวชสำอางจากพืชสมุนไพรไทย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (ศลช.) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) พัฒนาผลิตภัณฑ์เวชสำอาง และส่งเสริมและถ่ายทอดนวัตกรรมเพื่อให้เกิดอุตสาหกรรม และให้องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนผ่านการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ใน “ศูนย์การใช้ประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพของไทย” ซึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้แห่งใหม่ของ อพวช. ที่คลองห้า จ.ปทุมธานี รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนถึงการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรไทยในด้านต่างๆ เพื่อให้คนไทยหันมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากพืชสมุนไพรไทยมากขึ้นด้วย

ที่มา : ไทยรัฐ 6 ธ.ค.56

บทความที่เกี่ยวข้อง

update บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร ปี 2566

admin 29 กุมภาพันธ์ 2024

บัญชียาจากสมุนไพร เป็นความพยายามของกระทรวงสาธารณสุขที่จ […]

บอระเพ็ด ยาโบราณร่วมสมัย

admin 22 กันยายน 2022

บอระเพ็ดขึ้นชื่อความขมแต่ก็ชื่นชมในสรรพคุณเป็นยาอายุวัฒนะและยาแก้ไข้มาอย่างยาวนาน

กาฝาก ก็เป็นยาสมุนไพร

admin 19 กันยายน 2022

เนื่องจากกาฝากเป็นทั้งพืชสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วบางชนิดยังเป็นไม้ประดับได้ด้วย ดังนั้นในต่างประเทศจึงมีความรู้ในการปลูกกาฝากด้วย